เขาห้ามผมทำ แต่ไม่ห้ามผมคิด ตอนที่1: การลดภาระครู โดย ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก

ไปเจอบทความของอาจารย์ท่านหนึ่งผมจึงย้อนมองกลับสมัยเรียนว่าอาจารย์ที่สอนผมนั้นเขามีหน้าที่มากมายอย่างนี้นี่เอง เช่น ไปเป็นธุรการบ้าง งานทะเบียนบ้าง มาดูความคิดเห็นของอาจารย์ท่านนี้
เขาห้ามผมทำ แต่ไม่ห้ามผมคิด
ตอนที่1: การลดภาระครู
------------------------
คงไม่มีใครปฏิเสธนะครับว่าครูมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่งและอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข แต่ที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมากก็คือ ในปัจจุบันนี้ครูส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก สอนได้ไม่เต็มเวลา ไม่เต็มศักยภาพและไม่เต็มหลักสูตร ผมไม่ได้หมายความว่าครูของเราไม่ยอมสอน แต่ครูของเราต้องไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่งานสอน อันเนื่องมาจากโรงเรียนเป็นนิติบุคคล ใช่ครับ โรงเรียนต้องทำทุกอย่างเพราะเป็นนิติบุคคล แต่ครูไม่ต้องทำทุกอย่างครับ ครูต้องสอนอย่างเดียว งานธุรการ การเงิน พัสดุ งานแนะแนว งานทะเบียน วัดผล ต้องมีผู้มาทำหน้าที่แทนครู และต้องเป็นตำแหน่งที่ถาวร มีเส้นทางเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ ไม่ใช่เป็นอัตราจ้าง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตเราก็เคยมี นั่นก็คือ ครูสาย ส (สายสนับสนุนการสอน) นั่นเอง
เริ่มต้นโดยการนำภาระงานทั้งหมดของโรงเรียนทั้งงานสอนและไม่ใช่งานสอนที่ต้องทำตลอดปีมาคิดเวลาว่าต้องใช้เวลาทำกี่ชั่วโมง งานของโรงเรียนบางครั้งต้องทำเลยเวลาราชการ ทำในวันหยุด ทำในวันปิดภาคเรียน ต้องนำมาคิดทั้งหมด แล้วนำมาคิดเป็นเวลาและจำนวนคนปฏิบัติงานรายวัน เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่ง มีงานที่ต้องใช้เวลาทำทั้งหมด 96 ชั่วโมงใน 1 วัน เป็นงานสอน 80 ชั่วโมง งานอื่นที่ไม่ใช่งานสอน 16 ชั่วโมง ดังนั้น โรงเรียนนี้ต้องมีครู10คน ครูสายสนับสนุน2 คน เพราะคนหนึ่งทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เป็นต้น ท่านที่สนใจเรื่องนี้ อ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง Full Time Equivalent(FTE) เพิ่มเติมครับ คงต้องร่วมมือกันครับ ระหว่างผู้ที่ต้องการใช้อัตรากำลังแบบนี้(สพฐ.) และผู้ให้ความเห็นชอบ(ก.ค.ศ.) ทำเลยครับ ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งมีคุณต่อวงการศึกษาเท่านั้น

ที่มา Facebook ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก 10 กรกฎาคม 2558
เขาห้ามผมทำ แต่ไม่ห้ามผมคิด
ตอนที่1: การลดภาระครู
------------------------
คงไม่มีใครปฏิเสธนะครับว่าครูมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่งและอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข แต่ที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมากก็คือ ในปัจจุบันนี้ครูส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก สอนได้ไม่เต็มเวลา ไม่เต็มศักยภาพและไม่เต็มหลักสูตร ผมไม่ได้หมายความว่าครูของเราไม่ยอมสอน แต่ครูของเราต้องไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่งานสอน อันเนื่องมาจากโรงเรียนเป็นนิติบุคคล ใช่ครับ โรงเรียนต้องทำทุกอย่างเพราะเป็นนิติบุคคล แต่ครูไม่ต้องทำทุกอย่างครับ ครูต้องสอนอย่างเดียว งานธุรการ การเงิน พัสดุ งานแนะแนว งานทะเบียน วัดผล ต้องมีผู้มาทำหน้าที่แทนครู และต้องเป็นตำแหน่งที่ถาวร มีเส้นทางเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ ไม่ใช่เป็นอัตราจ้าง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตเราก็เคยมี นั่นก็คือ ครูสาย ส (สายสนับสนุนการสอน) นั่นเอง
เริ่มต้นโดยการนำภาระงานทั้งหมดของโรงเรียนทั้งงานสอนและไม่ใช่งานสอนที่ต้องทำตลอดปีมาคิดเวลาว่าต้องใช้เวลาทำกี่ชั่วโมง งานของโรงเรียนบางครั้งต้องทำเลยเวลาราชการ ทำในวันหยุด ทำในวันปิดภาคเรียน ต้องนำมาคิดทั้งหมด แล้วนำมาคิดเป็นเวลาและจำนวนคนปฏิบัติงานรายวัน เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่ง มีงานที่ต้องใช้เวลาทำทั้งหมด 96 ชั่วโมงใน 1 วัน เป็นงานสอน 80 ชั่วโมง งานอื่นที่ไม่ใช่งานสอน 16 ชั่วโมง ดังนั้น โรงเรียนนี้ต้องมีครู10คน ครูสายสนับสนุน2 คน เพราะคนหนึ่งทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เป็นต้น ท่านที่สนใจเรื่องนี้ อ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง Full Time Equivalent(FTE) เพิ่มเติมครับ คงต้องร่วมมือกันครับ ระหว่างผู้ที่ต้องการใช้อัตรากำลังแบบนี้(สพฐ.) และผู้ให้ความเห็นชอบ(ก.ค.ศ.) ทำเลยครับ ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งมีคุณต่อวงการศึกษาเท่านั้น

ที่มา Facebook ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก 10 กรกฎาคม 2558
ประกาศรับสมัครที่น่าสนใจ ::
(1.) กรมการพัฒนาชุมชน เปิดรับสมัครสอบบุคคลเข้ารับราชการ 70 อัตรา
(1.) กรมป่าไม้ รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป 49 อัตรา
( 2.) เปิดสอบราชการกว่า 1,300 อัตรา วุฒิ ปวช./ปวส./ป.ตรี/ป.โท
(2.) กรมชลประทาน รับสมัครสอบเป็นพนักงานราชการ 355 อัตรา
(3.) กรมสรรพสามิต สมัครสอบเข้ารับราชการ 36 อัตรา
IELTS | ข้อสอบ toeic
รวมเบอร์โทรเบอร์โทรแท็กซี่
เบอร์โทรแท็กซี่ขอนแก่น|
เบอร์โทรแท็กซี่สารคาม|
เบอร์โทรแท็กซี่บุรีรัมย์|
เบอร์โทรแท็กซี่อุดรธานี|
เบอร์โทรแท็กซี่โคราช|
เบอร์โทรแท็กซี่เชียงใหม่