8 ปัจจัยที่ทำลายแรงจูงใจของพนักงานอย่างแรง ผู้บริหารควรอ่าน
นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
ช่วงนี้ไม่ทราบว่าเป็นอะไร ทำไมถึงมีกรณีเรื่องของแรงจูงใจพนักงานมาให้ได้ยิน ได้อ่าน ได้ฟังกันอยู่บ่อยๆ หรือช่วงนี้องค์กรต่างๆ มีปัญหาทางด้านการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน หรือพนักงานเองมีปัญหาเรื่องของการขาดแรงจูงใจในการทำงาน ผมมีความรู้สึกว่าพนักงาน Gen Y ที่เข้ามาทำงานในองค์กรในยุคนี้ มีประเด็นเรื่องของการสร้างแรงจูงใจค่อนข้างมาก อาจจะเรียกได้ว่า สร้างแรงจูงใจได้ยาก และซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าพนักงานรุ่นเก่าๆ
ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะเป็นเพราะว่า ในยุคนี้ พนักงานมีทางเลือกในการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม ก็เลยทำให้ไม่ค่อยแคร์มากนักกับการทำงานในองค์กร ถ้าคิดว่า องค์กรไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ก็ลาออกไปอยู่กับที่อื่น ที่ดีกว่า หรือสบายใจกว่า โดยไม่สนใจว่าจะทำให้องค์กรเกิดปัญหาอะไร จนทำให้องค์กรเองก็พยายามที่จะต้องหาวิธีการ และแนวทางใหม่ๆ ที่จะมาสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานของตนเอง
ได้อ่านงานเขียนของ Lolly Daskal ซึ่งเป็น President and CEO ของบริษัทที่ปรึกษาที่ชื่อ Lead from within ได้เขียนถึงปัจจัยที่ทำลายแรงจูงใจของพนักงานไว้อย่างน่าสนใจ ก็เลยเอามาเรียบเรียงใหม่ให้อ่านกันครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านได้บ้าง
- เพื่อนร่วมงานแย่ๆ ปัจจัยแรกที่ทำลายแรงจูงใจของพนักงานก็คือ การที่เข้ามาทำงานกับองค์กรที่มีเพื่อนร่วมงานแย่ ซึ่งในที่นี้ก็คือ คนที่ไม่เคยคิดบวกเลย มีแต่เรื่องลบๆ ตลอดเวลา มันก็เลยทำให้พนักงานรู้สึกแย่ไปด้วยกับการทำงาน
- ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง อีกเรื่องที่ทำให้แรงจูงใจของพนักงานหายไปได้ก็คือ เข้ามาทำงานกับองค์กรแล้ว แต่กลับไม่เคยได้รับการพัฒนาอะไรเลยจากองค์กร ไม่เคยมีแม้แต่การสอนงานจากหัวหน้างานของตนเอง จนพนักงานไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตนเองต้องทำอะไร และต้องพัฒนาอะไรบ้าง
- ผู้บริหารไม่มีวิสัยทัศน์ การที่ผู้บริหารขององค์กรไม่มีวิสัยทัศน์ และขาดการมองอนาคตขององค์กรที่ชัดเจน ก็ทำให้พนักงานรู้สึกถึงการขาดเป้าหมายในการทำงานเช่นกัน ไม่รู้ว่า ถ้าอยู่กับองค์กรนี้แล้ว จะไปรอดหรือเปล่า ทำงานโดยไม่รู้เป้าหมายอะไรเลย แบบนี้ก็ทำให้แรงจูงใจหายไปได้เช่นกัน
- มีกิจกรรมที่ทำให้เสียเวลา เช่นการประชุมโดยไม่มีเหตุผล บางทีก็นั่งประชุมทั้งวัน ฟังผู้บริหารบ่นไปเรื่อย แบบไร้จุดหมาย งานการก็ไม่เดิน อีกทั้งบางทีก็มีอีเมล์จากผู้บริหารแบบไม่มีเรื่องราวอะไร หรือต้องมานั่งทำเอกสารเยอะแยะไปหมดทั้งๆ ที่คุยกันก็น่าจะพอ แต่กลับต้องทำทุกเรื่องให้เป็นเอกสารไปหมด ซึ่งแบบนี้ก็ทำให้พนักงานไม่ค่อยอยากที่จะทำงาน เพราะเรื่องอื่นๆ ที่ไม่มีคุณค่าเข้ามาแทรกเวลาในการทำงานที่จะสร้างผลงานของพนักงานเอง
- ขาดการสื่อความที่เพียงพอ ปกติแล้วในการทำงาน ระหว่างผู้บริหารกับพนักงานจะต้องมีการสื่อความที่เพียงพอ น้อยไปก็ไม่ดี เพราะไม่ทำให้พนักงานเห็นถึงความคืบหน้า และไม่รู้เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น พอพนักงานไม่รู้เรื่องราวต่างๆ ขององค์กร ก็จะเริ่มรู้สึกถึงการไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และแรงจูงใจก็จะหายไปในที่สุด
- มีนายแบบเผด็จการ ก็คือ ไม่เคยให้พนักงานแสดงความคิดเห็น หรือสร้างสรรค์อะไรเลย มีแต่สั่งให้เงียบไว้ แล้วทำตามที่สั่งก็พอ หรือไม่ก็ แสดงความคิดเห็นได้นะ แต่ต้องทำตามความเห็นของนายเท่านั้น
- ไม่เคยมีการชื่นชมผลงานพนักงาน พนักงานที่ทำงานได้ดี และทำงานหนัก สิ่งที่เขาต้องการก็คือกำลังใจในการทำงาน ซึ่งแค่เพียงคำชมสั้นๆ อย่างจริงใจ ก็ช่วยทำให้พนักงานรู้สึกอิ่มเอิบ และมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น แต่บางองค์กรกลับมีวัฒนธรรมแปลกๆ ก็คือ ไม่มีการชื่นชมผลงานพนักงาน ไม่มีการบอกให้พนักงานรู้ว่าทำงานดีแค่ไหน มีแต่ตำหนิ และต่อว่าพนักงานเวลาที่ทำงานผิดพลาด
- ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่แย่มากๆ ประเด็นสุดท้ายก็คือ การที่มีผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่แย่มากๆ ไม่เคยวางแผนสร้างอนาคตขององค์กร นำใครไม่ได้ คิดแต่จะตำหนิ และหาทางทำลายคนอื่นที่ไม่ใช่พวก แต่อวยพวกพ้องของตนเอง อีกทั้งทำอะไรแบบไม่โปร่งใส ตรวจสอบก็ไม่ได้ เพราะไม่ยอม หรือไม่ก็พยายามทำอะไรแบบงุบงิบโดยไม่บอกใคร และพยายามสร้างประโยชน์ให้กับตนเอง และพวกพ้อง
8 ปัจจัยข้างต้นนั้นลองประเมินองค์กรของเราดูก็ได้ครับว่า ในองค์กรของเรานั้นมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นบ้างหรือเปล่า ถ้ามีครบทั้ง 8 ข้อ ก็แสดงว่า องค์กรของเราคงต้องพัฒนาเรื่องของการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานอย่างแรงเลยทีเดียว
บางท่านอาจจะบอกว่า ไม่มีเรื่องของเงินเดือนค่าตอบแทนเลยหรือ ก็ต้องบอกเลยว่า เรื่องของเงินนั้นมันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญก็จริง แต่มีแล้ว มันไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานที่อยากจะทำงานสร้างผลงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจัยที่จับต้องไม่ได้เหล่านี้มากกว่าที่จะสร้างพลัง และสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานที่อยากจะสร้างผลงานให้ดีขึ้น และอยากอยู่กับองค์กรไปนานๆ
ที่มา https://prakal.wordpress.com
ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะเป็นเพราะว่า ในยุคนี้ พนักงานมีทางเลือกในการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม ก็เลยทำให้ไม่ค่อยแคร์มากนักกับการทำงานในองค์กร ถ้าคิดว่า องค์กรไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ก็ลาออกไปอยู่กับที่อื่น ที่ดีกว่า หรือสบายใจกว่า โดยไม่สนใจว่าจะทำให้องค์กรเกิดปัญหาอะไร จนทำให้องค์กรเองก็พยายามที่จะต้องหาวิธีการ และแนวทางใหม่ๆ ที่จะมาสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานของตนเอง
ได้อ่านงานเขียนของ Lolly Daskal ซึ่งเป็น President and CEO ของบริษัทที่ปรึกษาที่ชื่อ Lead from within ได้เขียนถึงปัจจัยที่ทำลายแรงจูงใจของพนักงานไว้อย่างน่าสนใจ ก็เลยเอามาเรียบเรียงใหม่ให้อ่านกันครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านได้บ้าง
- เพื่อนร่วมงานแย่ๆ ปัจจัยแรกที่ทำลายแรงจูงใจของพนักงานก็คือ การที่เข้ามาทำงานกับองค์กรที่มีเพื่อนร่วมงานแย่ ซึ่งในที่นี้ก็คือ คนที่ไม่เคยคิดบวกเลย มีแต่เรื่องลบๆ ตลอดเวลา มันก็เลยทำให้พนักงานรู้สึกแย่ไปด้วยกับการทำงาน
- ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง อีกเรื่องที่ทำให้แรงจูงใจของพนักงานหายไปได้ก็คือ เข้ามาทำงานกับองค์กรแล้ว แต่กลับไม่เคยได้รับการพัฒนาอะไรเลยจากองค์กร ไม่เคยมีแม้แต่การสอนงานจากหัวหน้างานของตนเอง จนพนักงานไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตนเองต้องทำอะไร และต้องพัฒนาอะไรบ้าง
- ผู้บริหารไม่มีวิสัยทัศน์ การที่ผู้บริหารขององค์กรไม่มีวิสัยทัศน์ และขาดการมองอนาคตขององค์กรที่ชัดเจน ก็ทำให้พนักงานรู้สึกถึงการขาดเป้าหมายในการทำงานเช่นกัน ไม่รู้ว่า ถ้าอยู่กับองค์กรนี้แล้ว จะไปรอดหรือเปล่า ทำงานโดยไม่รู้เป้าหมายอะไรเลย แบบนี้ก็ทำให้แรงจูงใจหายไปได้เช่นกัน
- มีกิจกรรมที่ทำให้เสียเวลา เช่นการประชุมโดยไม่มีเหตุผล บางทีก็นั่งประชุมทั้งวัน ฟังผู้บริหารบ่นไปเรื่อย แบบไร้จุดหมาย งานการก็ไม่เดิน อีกทั้งบางทีก็มีอีเมล์จากผู้บริหารแบบไม่มีเรื่องราวอะไร หรือต้องมานั่งทำเอกสารเยอะแยะไปหมดทั้งๆ ที่คุยกันก็น่าจะพอ แต่กลับต้องทำทุกเรื่องให้เป็นเอกสารไปหมด ซึ่งแบบนี้ก็ทำให้พนักงานไม่ค่อยอยากที่จะทำงาน เพราะเรื่องอื่นๆ ที่ไม่มีคุณค่าเข้ามาแทรกเวลาในการทำงานที่จะสร้างผลงานของพนักงานเอง
- ขาดการสื่อความที่เพียงพอ ปกติแล้วในการทำงาน ระหว่างผู้บริหารกับพนักงานจะต้องมีการสื่อความที่เพียงพอ น้อยไปก็ไม่ดี เพราะไม่ทำให้พนักงานเห็นถึงความคืบหน้า และไม่รู้เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น พอพนักงานไม่รู้เรื่องราวต่างๆ ขององค์กร ก็จะเริ่มรู้สึกถึงการไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และแรงจูงใจก็จะหายไปในที่สุด
- มีนายแบบเผด็จการ ก็คือ ไม่เคยให้พนักงานแสดงความคิดเห็น หรือสร้างสรรค์อะไรเลย มีแต่สั่งให้เงียบไว้ แล้วทำตามที่สั่งก็พอ หรือไม่ก็ แสดงความคิดเห็นได้นะ แต่ต้องทำตามความเห็นของนายเท่านั้น
- ไม่เคยมีการชื่นชมผลงานพนักงาน พนักงานที่ทำงานได้ดี และทำงานหนัก สิ่งที่เขาต้องการก็คือกำลังใจในการทำงาน ซึ่งแค่เพียงคำชมสั้นๆ อย่างจริงใจ ก็ช่วยทำให้พนักงานรู้สึกอิ่มเอิบ และมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น แต่บางองค์กรกลับมีวัฒนธรรมแปลกๆ ก็คือ ไม่มีการชื่นชมผลงานพนักงาน ไม่มีการบอกให้พนักงานรู้ว่าทำงานดีแค่ไหน มีแต่ตำหนิ และต่อว่าพนักงานเวลาที่ทำงานผิดพลาด
- ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่แย่มากๆ ประเด็นสุดท้ายก็คือ การที่มีผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่แย่มากๆ ไม่เคยวางแผนสร้างอนาคตขององค์กร นำใครไม่ได้ คิดแต่จะตำหนิ และหาทางทำลายคนอื่นที่ไม่ใช่พวก แต่อวยพวกพ้องของตนเอง อีกทั้งทำอะไรแบบไม่โปร่งใส ตรวจสอบก็ไม่ได้ เพราะไม่ยอม หรือไม่ก็พยายามทำอะไรแบบงุบงิบโดยไม่บอกใคร และพยายามสร้างประโยชน์ให้กับตนเอง และพวกพ้อง
8 ปัจจัยข้างต้นนั้นลองประเมินองค์กรของเราดูก็ได้ครับว่า ในองค์กรของเรานั้นมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นบ้างหรือเปล่า ถ้ามีครบทั้ง 8 ข้อ ก็แสดงว่า องค์กรของเราคงต้องพัฒนาเรื่องของการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานอย่างแรงเลยทีเดียว
บางท่านอาจจะบอกว่า ไม่มีเรื่องของเงินเดือนค่าตอบแทนเลยหรือ ก็ต้องบอกเลยว่า เรื่องของเงินนั้นมันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญก็จริง แต่มีแล้ว มันไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานที่อยากจะทำงานสร้างผลงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจัยที่จับต้องไม่ได้เหล่านี้มากกว่าที่จะสร้างพลัง และสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานที่อยากจะสร้างผลงานให้ดีขึ้น และอยากอยู่กับองค์กรไปนานๆ
ที่มา https://prakal.wordpress.com
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com