พูดอย่างไรให้คนชอบ วิธีและหลักการพูดง่ายๆ ที่ทำให้คนชอบ
นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
พูดอย่างไรให้คนชอบ วิธีและหลักการพูดง่ายๆ ที่ทำให้คนชอบ
การพูดคุยถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการสื่อสารของมนุษย์เรา และแน่นอนอย่างคำกล่าวที่ว่า “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย” (ปัจจุบันมีการแผลงไปจนเป็น “พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากเป็นสี”) ความหมายของมันก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า การพูดแต่ในสิ่งที่ดีก็จะเกิดแต่สิ่งดีกับตัวเรา และเมื่อพูดแต่สิ่งไม่ดีก็จะทำให้เกิดแต่สิ่งไม่ดีกับตัวเรา เช่นกัน เพราะฉะนั้น การพูดของคนเรานั้นสามารถสร้างได้ทั้งมิตรและศัตรูเลยทีเดียว และแน่นอนว่าหลายคนก็อยากสร้างมิตรมากกว่าศัตรูแน่นอน ซึ่งก็สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้
มีภาษากายที่ดี
ภาษากาย ในที่นี้หมายถึง บุคลิกภาพของตัวผู้พูดเอง การตอบสนองในการพูดและการกระทำหรือท่วงท่าในการพูดจาก สิ่งเหล่านี้จะสามารถแปลงความหมายของคำพูดได้เป็นอย่างดี ซึ่งการโต้ตอบการสนทนาและการพูดจากันเมื่อแสดงท่าทางให้สอดคล้องก็จะทำให้คำที่เราพูดมีน้ำหนักและความน่าเชื่อถือขึ้นมา อย่างเช่น พูดว่า “ผมสนใจสิ่งที่คุณพูดมากๆ” แล้วก็ทำท่าทางสนใจให้ผู้พูดได้เห็นว่าเราสนใจ กลับกันถ้าพูดในประโยคเดียวกัน แต่เรากลับหันไปมองทางอื่นหรือสนใจอย่างอื่นแทน ผลที่ได้ออกมาก็จะมีความหมายที่ตรงข้ามไปเลยนั่นเอง นอกจากนั้นภาษาการยังแสดงการยิ้มแย้มด้วยเช่นกัน
วาจาสุภาพ
การพูดจาสุภาพถือว่าเป็นพื้นฐานของการพูดจาน่าฟังเลยก็ว่าได้ เพราะคงไม่มีใครในโลกนี้ที่ชอบคนที่พูดจากหยาบคายแน่นอน การใส่น้ำเสียงลงในคำพูดให้ฟังดูแล้วผ่อนคลาย พูดลงท้ายคำว่า ครับ/ค่ะ และให้เกียรติผู้ฟัง และแน่นว่าการพูดจาสุภาพในที่นี้ยังมีความหมายถึง จังหวะและรูปแบบการพูดด้วยเช่นกัน ผู้พูดไม่ควรพูดแต่เรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ หรือพูดแต่เรื่องของตัวเอง ควรให้จังหวะในการโต้ตอบของผู้ฟังบ้าง และไม่ควรใช้ถ้อยคำและวาจาที่กระทบกระเทือนส่งผลต่อผู้ฟังนั่นเอง
พูดชัดถ้อยชัดคำและสามารถเข้าใจได้ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
เป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนมองข้าม แต่ที่จริงแล้วการพูดชัดถ้อยชัดคำถือเป็นเสน่ห์ในการพูดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว การพูดชัดถ้อยชัดคำในที่นี้หมายถึง การพูดจาฉะฉานชัดเจนน่าฟัง มีการพูดออกจังหวะและเว้นจังหวะได้เหมาะสม ไม่พูดเร็วและรัวมากเกินไปจนผู้ฟังตามแทบไม่ทันหรืออาจจะทำผู้ฟังเบื่อที่จะฟังและไม่สนใจในบทสนทนาแทน รวมไปถึงการไม่พูดช้าจนเกินไป ซึ่งจะพาลให้ง่วงนอน การออกเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคำควบกล้ำ อักขระ ล.ลิง ร.เรือ ควรให้ถูกต้องและชัดเจนนั่นเอง (การออกเสียง อักขระ ล.ลิง ร.เรือ ควรฝึกตั้งแต่เด็กๆ เพราะผู้ใหญ่ลิ้นจะแข็งและเกิดความเคยชินจนฝึกยาก)
พูดให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกร่วม
อีกหนึ่งจุดที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการพูดก็คือ การทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในเนื้อหาที่เรานำเสนอหรือพูดออกไป ซึ่งสามารถทำได้แบบง่ายๆ ด้วย การสบตากับผู้ฟังอย่างทั่วถึง, ตั้งคำถามในขณะพูดเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสงสัยและสนใจแล้วค่อยๆ อธิบายเพื่อนำไปสู่คำตอบ หรือแม้แต่การสอบถามผู้ฟังบ้างในบางจังหวะเพื่อดึงความสนใจของผู้ฟัง และที่สำคัญก็คือ สามารถใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและสื่อสารให้ผู้ฟังรู้ความหมายได้แบบไม่ติดคิดหรือแปลเพิ่ม
การพูดถูกกาลเทศะ
“กาล” แปลว่า เวลา
“เทศะ” แปลว่า สถานที่หรือถิ่น
เมื่อนำ “กาล”และ “เทศะ” มารวมเข้าด้วยกันจะได้คำว่า “กาลเทศะ” ซึ่งความหมายของมันก็คือ ความเหมาะสมในสถานที่นั้นๆ ซึ่งการพูดให้ถูกกาลเทศะ ก็จะมีความหมายว่า การพูดให้ถูกและเหมาะสมกับสถานการณ์และสถานที่นั้นๆ จุดนี้ถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าพูดไม่ถูกกาลเทศะจากเรื่องดีอาจจะกลายเป็นเรื่องที่ไม่ดีได้นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการสื่อสารด้วยคำพูดหรือการพูดจานั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญของมนุษย์เลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อพูดดีน่าฟังสิ่งดีๆ ก็จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นการงานที่ดี, เพื่อนที่ดีและชีวิตที่ดีนั่นเอง
บทความโดย jobthaidd.com
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครสอบบุคคลเข้ารับราชการ 94 อัตรา
ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก (Paper & Pencil) ประจำปี 2567
กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครสอบบุคคลเข้ารับราชการ 94 อัตรา
ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก (Paper & Pencil) ประจำปี 2567
กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!