5 เหตุผลที่คนทำงานคิดจะ " ลาออก มากที่สุด "

นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
ปัจจุบันการลาออกสำหรับคนทำงานมีด้วยกันหลากหลายเหตุผล ซึ่ง jobsDB ได้ทำการสำรวจดัชนีความสุขของพนักงาน ประจำปี 2558 ขึ้น ผลสำรวจความสุขกับงานที่ทำในปัจจุบันของคนทำงานค่อนข้างมีความสุข แต่ก็มีคนทำงานจำนวนหนึ่งที่ไม่ค่อยมีความสุขกับงานที่ทำในปัจจุบัน จึงเป็นเหตุที่ทำให้คนทำงานคิดจะลาออก ลองมาดูกันว่าจากผลสำรวจ มีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้คนทำงานคิดที่จะลาออก
1.ไม่มีโอกาสในการเติบโตในองค์กร 18.6%
2.เข้ากับผู้ร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาไมได้ 10.6%
3.ได้รับการปรับเงินเดือน แต่ไม่เพียงพอ 10.5%
4.องค์กรไม่มีระบบที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ 9.6%
5.ไม่ชอบงานที่รับผิดชอบอยู่ 9.4%
ปัจจุบันการลาออกสำหรับคนทำงานมีด้วยกันหลากหลายเหตุผล ซึ่ง jobsDB ได้ทำการสำรวจดัชนีความสุขของพนักงาน ประจำปี 2558 ขึ้น ผลสำรวจความสุขกับงานที่ทำในปัจจุบันของคนทำงานค่อนข้างมีความสุข แต่ก็มีคนทำงานจำนวนหนึ่งที่ไม่ค่อยมีความสุขกับงานที่ทำในปัจจุบัน จึงเป็นเหตุที่ทำให้คนทำงานคิดจะลาออก ลองมาดูกันว่าจากผลสำรวจ มีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้คนทำงานคิดที่จะลาออก
เหตุผลการลาออกจากงาน
1. โอกาสในการเติบโตในองค์กรน้อย
แน่นอนว่าสำหรับคนทำงานนั้น การเจริญเติบโตในหน้าที่การงานคือเป้าหมายสำคัญ เพราะแสดงให้เห็นว่าคุณผ่านประสบการณ์มายาวนานได้รับการฝึกฝน ขัดเกลาเทคนิคการทำงานกับองค์กรนั้น ๆ มานานแค่ไหน แต่หลายคนประสบปัญหาทำงานมานานหลายปี แต่ต้องย่ำอยู่กับที่ไม่ไปไหนเสียที ซึ่งบ้างครั้งอาจจะเป็นเพราะตำแหน่งที่โตกว่ายังไม่ว่างทำให้คุณต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมนานเท่ากับอายุงาน หรือองค์กรอาจจะมองหาคนจากภายนอกบริษัทมาแทนตำแหน่งที่สูงกว่าคุณ เพราะต้องการแนวความคิดใหม่ ๆ ซึ่งตรงนี้ทำให้พนักงานมองว่าการออกไปหาโอกาสในที่ทำงานใหม่น่าจะตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาได้ดีกว่า
2. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายไม่ราบรื่น
สำหรับโลกแห่งการทำงานนั้น การทำงานร่วมกันเป็นทีมถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ทีมประสบความสำเร็จ แต่หากคนในทีมไม่สมัครสามัคคีกันย่อมทำให้เกิดรอยร้าว และนำไปสู่ความไม่เข้าใจกันในที่สุดส่งผลให้งานที่ออกมามีปัญหา พนักงานหลายคนยอมรับว่าหากความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่ราบรื่น เช่น ทัศนคติไม่ตรงกัน มีปัญหาการเมืองภายใน จะส่งผลให้การสื่อสารขณะทำงานร่วมกันมีปัญหา และอาจจะส่งผลให้ทำงานผิดพลาดได้ซึ่งทำให้พวกเขาอึดอัดใจไม่น้อยเพื่อต้องเผชิญหน้ากับความสัมพันธ์ที่อึมครึมกับเพื่อนร่วมงาน เฉกเช่นเดียวกันกับพนักงานที่รู้สึกว่าความสัมพันธ์กับหัวหน้างานไม่ค่อยดี ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายไม่ปลื้มผลงาน เจ้านายลำเอียง หรือเจ้านายเลือกที่รักมักที่ชัง เพราะพวกเขาเล็งเห็นว่าหากมีปัญหากับหัวหน้างานอาจจะส่งผลให้ไม่ได้รับการโปรโมท ไม่ได้ปรับขึ้นเงินเดือน หรืออาจจะทำให้รู้สึกอึดอัดใจที่จะต้องทำงานด้วย
3. ได้รับการปรับเงินเดือนแต่ไม่เพียงพอ
พนักงานหลายคนลาออกด้วยเหตุผลที่ว่า ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนจำนวนน้อยเกินไป ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากอัตราค่าครองชีพปัจจุบันนั้นสูงขึ้นมาก แต่บางบริษัทมีเกณฑ์การปรับขึ้นเงินเดือนที่สวนทางกับอัตราเงินเฟ้อทำให้พนักงานหมดกำลังใจในการทำงาน เพราะแม้ว่าจะได้ปรับขึ้นเงินเดือนมากกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่สามารถใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้เพียงพอ หรือสามารถใช้จ่ายหนี้สินได้ ดังนั้นการมองหางานใหม่ที่ได้เงินเดือนมากกว่าคือทางออกของพวกเขา
4. ระบบการทำงานไม่เอื้อให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
พนักงานโดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวรุ่นใหม่จะไม่ค่อยชอบระบบการทำงานที่ล้าหลัง หรือการทำงานที่ต้องผ่านกระบวนการอนุมัติหลายขั้นตอน เพราะพวกเขามองว่าเป็นการทำงานที่ใช้เวลานาน กว่าจะส่งงานผ่าน กว่าจะแก้ไขสำเร็จ กว่างานจะออกมาทำให้พวกเขาต้องใช้กำลังกายกำลังสมองมากกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นหากเลือกได้พวกเขาจะมองหาองค์กรที่มีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ หรือมีการนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้กับเนื้องานเพื่อให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพมากกว่า
5. ได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด
คนทำงานหลายคนประสบปัญหาเรียนจบอีกอย่าง แต่ต้องมาทำงานอีกอย่างที่พวกเขาไม่ถนัด ดังนั้นพวกเขาจะรู้สึกกดดันทั้งในเรื่องของเนื้องานที่ต้องมาเรียนรู้ใหม่ กดดันเรื่องเวลาส่งงาน และกดดันเรื่องของประสิทธิภาพของงานที่ออกมา เพราะหากงานที่ออกมาไม่ดีก็จะได้รับการตำหนิ ดังนั้นหากเลือกได้พวกเขาจะมองหางานใหม่ที่ใช่มากกว่า หรืองานที่พวกเขาถนัดมากกว่า
จากเหตุผลยอดฮิตข้างต้น องค์กรและหัวหน้างานต่าง ๆ น่าจะพอเห็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาพนักงานเข้า-ออกกันบ้างแล้ว ลองนำเอาเหตุผลที่คนทำงานมักจะลาออกเหล่านี้ไปปรับใช้ในองค์กรของท่านดู เช่น เลือกคนให้เหมาะสมกับงานที่พวกเขาถนัด พยายามหาเทคโนโลยี ระบบการทำงาน หรือเทคนิคการทำงานที่ช่วยย่นระยะเวลาให้สั้นลงแต่ได้ประสิทธิภาพมากกว่าเดิมมาใช้ดู โดยอย่าละเลยการเอาใจใส่พนักงานหรือลูกน้องร่วมทีม คอยสอดส่องดูว่าพวกเขามีปัญหาภายในหรือไม่ หากมีต้องรีบจัดการแก้ไขก่อนจะลุกลามใหญ่โต พร้อมทั้งอย่าลืมฝึกฝนและช่วยดึงศักยภาพพนักงานของคุณให้มากที่สุดเพราะนอกจากจะเป็นผลดีตัวพนักงานแล้วยังส่งผลดีกับผลงานที่ออกมาด้วยค่ะ
รายงาน Happy Meter โดย jobsDB ประเทศไทยจัดทำขึ้นระหว่างเดือนเมษายน 2558 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 1,452 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถามในฝ่ายบุคคลและธุรการ ฝ่ายบัญชี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายขายและบริการลูกค้า ฝ่ายพัฒนาธรุกิจ และฝ่ายการตลาด จากหลากหลายประเภทธุรกิจอาทิ ภาคบริการการเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศ การพาณิชย์และจัดส่งสินค้า โดยมีสัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 83 เปอร์เซ็นต์ และที่เหลือเป็นมาจากภาคกลางและภาคตะวันออก
ที่มา http://th.jobsdb.com
1.ไม่มีโอกาสในการเติบโตในองค์กร 18.6%
2.เข้ากับผู้ร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาไมได้ 10.6%
3.ได้รับการปรับเงินเดือน แต่ไม่เพียงพอ 10.5%
4.องค์กรไม่มีระบบที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ 9.6%
5.ไม่ชอบงานที่รับผิดชอบอยู่ 9.4%
ปัจจุบันการลาออกสำหรับคนทำงานมีด้วยกันหลากหลายเหตุผล ซึ่ง jobsDB ได้ทำการสำรวจดัชนีความสุขของพนักงาน ประจำปี 2558 ขึ้น ผลสำรวจความสุขกับงานที่ทำในปัจจุบันของคนทำงานค่อนข้างมีความสุข แต่ก็มีคนทำงานจำนวนหนึ่งที่ไม่ค่อยมีความสุขกับงานที่ทำในปัจจุบัน จึงเป็นเหตุที่ทำให้คนทำงานคิดจะลาออก ลองมาดูกันว่าจากผลสำรวจ มีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้คนทำงานคิดที่จะลาออก
เหตุผลการลาออกจากงาน
1. โอกาสในการเติบโตในองค์กรน้อย
แน่นอนว่าสำหรับคนทำงานนั้น การเจริญเติบโตในหน้าที่การงานคือเป้าหมายสำคัญ เพราะแสดงให้เห็นว่าคุณผ่านประสบการณ์มายาวนานได้รับการฝึกฝน ขัดเกลาเทคนิคการทำงานกับองค์กรนั้น ๆ มานานแค่ไหน แต่หลายคนประสบปัญหาทำงานมานานหลายปี แต่ต้องย่ำอยู่กับที่ไม่ไปไหนเสียที ซึ่งบ้างครั้งอาจจะเป็นเพราะตำแหน่งที่โตกว่ายังไม่ว่างทำให้คุณต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมนานเท่ากับอายุงาน หรือองค์กรอาจจะมองหาคนจากภายนอกบริษัทมาแทนตำแหน่งที่สูงกว่าคุณ เพราะต้องการแนวความคิดใหม่ ๆ ซึ่งตรงนี้ทำให้พนักงานมองว่าการออกไปหาโอกาสในที่ทำงานใหม่น่าจะตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาได้ดีกว่า
2. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายไม่ราบรื่น
สำหรับโลกแห่งการทำงานนั้น การทำงานร่วมกันเป็นทีมถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ทีมประสบความสำเร็จ แต่หากคนในทีมไม่สมัครสามัคคีกันย่อมทำให้เกิดรอยร้าว และนำไปสู่ความไม่เข้าใจกันในที่สุดส่งผลให้งานที่ออกมามีปัญหา พนักงานหลายคนยอมรับว่าหากความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่ราบรื่น เช่น ทัศนคติไม่ตรงกัน มีปัญหาการเมืองภายใน จะส่งผลให้การสื่อสารขณะทำงานร่วมกันมีปัญหา และอาจจะส่งผลให้ทำงานผิดพลาดได้ซึ่งทำให้พวกเขาอึดอัดใจไม่น้อยเพื่อต้องเผชิญหน้ากับความสัมพันธ์ที่อึมครึมกับเพื่อนร่วมงาน เฉกเช่นเดียวกันกับพนักงานที่รู้สึกว่าความสัมพันธ์กับหัวหน้างานไม่ค่อยดี ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายไม่ปลื้มผลงาน เจ้านายลำเอียง หรือเจ้านายเลือกที่รักมักที่ชัง เพราะพวกเขาเล็งเห็นว่าหากมีปัญหากับหัวหน้างานอาจจะส่งผลให้ไม่ได้รับการโปรโมท ไม่ได้ปรับขึ้นเงินเดือน หรืออาจจะทำให้รู้สึกอึดอัดใจที่จะต้องทำงานด้วย
3. ได้รับการปรับเงินเดือนแต่ไม่เพียงพอ
พนักงานหลายคนลาออกด้วยเหตุผลที่ว่า ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนจำนวนน้อยเกินไป ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากอัตราค่าครองชีพปัจจุบันนั้นสูงขึ้นมาก แต่บางบริษัทมีเกณฑ์การปรับขึ้นเงินเดือนที่สวนทางกับอัตราเงินเฟ้อทำให้พนักงานหมดกำลังใจในการทำงาน เพราะแม้ว่าจะได้ปรับขึ้นเงินเดือนมากกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่สามารถใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้เพียงพอ หรือสามารถใช้จ่ายหนี้สินได้ ดังนั้นการมองหางานใหม่ที่ได้เงินเดือนมากกว่าคือทางออกของพวกเขา
4. ระบบการทำงานไม่เอื้อให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
พนักงานโดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวรุ่นใหม่จะไม่ค่อยชอบระบบการทำงานที่ล้าหลัง หรือการทำงานที่ต้องผ่านกระบวนการอนุมัติหลายขั้นตอน เพราะพวกเขามองว่าเป็นการทำงานที่ใช้เวลานาน กว่าจะส่งงานผ่าน กว่าจะแก้ไขสำเร็จ กว่างานจะออกมาทำให้พวกเขาต้องใช้กำลังกายกำลังสมองมากกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นหากเลือกได้พวกเขาจะมองหาองค์กรที่มีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ หรือมีการนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้กับเนื้องานเพื่อให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพมากกว่า
5. ได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด
คนทำงานหลายคนประสบปัญหาเรียนจบอีกอย่าง แต่ต้องมาทำงานอีกอย่างที่พวกเขาไม่ถนัด ดังนั้นพวกเขาจะรู้สึกกดดันทั้งในเรื่องของเนื้องานที่ต้องมาเรียนรู้ใหม่ กดดันเรื่องเวลาส่งงาน และกดดันเรื่องของประสิทธิภาพของงานที่ออกมา เพราะหากงานที่ออกมาไม่ดีก็จะได้รับการตำหนิ ดังนั้นหากเลือกได้พวกเขาจะมองหางานใหม่ที่ใช่มากกว่า หรืองานที่พวกเขาถนัดมากกว่า
จากเหตุผลยอดฮิตข้างต้น องค์กรและหัวหน้างานต่าง ๆ น่าจะพอเห็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาพนักงานเข้า-ออกกันบ้างแล้ว ลองนำเอาเหตุผลที่คนทำงานมักจะลาออกเหล่านี้ไปปรับใช้ในองค์กรของท่านดู เช่น เลือกคนให้เหมาะสมกับงานที่พวกเขาถนัด พยายามหาเทคโนโลยี ระบบการทำงาน หรือเทคนิคการทำงานที่ช่วยย่นระยะเวลาให้สั้นลงแต่ได้ประสิทธิภาพมากกว่าเดิมมาใช้ดู โดยอย่าละเลยการเอาใจใส่พนักงานหรือลูกน้องร่วมทีม คอยสอดส่องดูว่าพวกเขามีปัญหาภายในหรือไม่ หากมีต้องรีบจัดการแก้ไขก่อนจะลุกลามใหญ่โต พร้อมทั้งอย่าลืมฝึกฝนและช่วยดึงศักยภาพพนักงานของคุณให้มากที่สุดเพราะนอกจากจะเป็นผลดีตัวพนักงานแล้วยังส่งผลดีกับผลงานที่ออกมาด้วยค่ะ
รายงาน Happy Meter โดย jobsDB ประเทศไทยจัดทำขึ้นระหว่างเดือนเมษายน 2558 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 1,452 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถามในฝ่ายบุคคลและธุรการ ฝ่ายบัญชี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายขายและบริการลูกค้า ฝ่ายพัฒนาธรุกิจ และฝ่ายการตลาด จากหลากหลายประเภทธุรกิจอาทิ ภาคบริการการเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศ การพาณิชย์และจัดส่งสินค้า โดยมีสัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 83 เปอร์เซ็นต์ และที่เหลือเป็นมาจากภาคกลางและภาคตะวันออก
ที่มา http://th.jobsdb.com
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้
ธ.ก.ส. รับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงานพัฒนาธุรกิจ ระดับ 4 จำนวน 620 อัตรา

ธ.ก.ส. เปิดรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงาน 250 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 24 -31 พฤษภาคม 2566

((รวมลิงก์)) ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ [1]

((รวมลิงก์)) ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ [2]
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 50 อัตรา

กทม. เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 62 อัตรา

เปิดรับสมัครสอบเข้ารับราชการ จำนวน 7,000 อัตรา

กรมสรรพากร เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 900 อัตรา

กรมการปกครอง เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 140 อัตรา

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 25 อัตรา

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 229 อัตรา

เว็บไซต์ ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. อยู่เขตไหน ใช้สิทธิ์ที่ไหน ลำดับเท่าไร รู้หมด!!!

กรมการแพทย์ เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 123 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 พฤษภาคม 2566

สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก 2566 เช็กรายละเอียดที่นี่

แจกแนวข้อสอบ ก.พ. กว่า 3,500 ข้อ(พร้อมเฉลย) และ10 วีดีโอบรรยายข้อสอบ

ด่วน!! มติอนุมัติ กสถ.เปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2565


ธ.ก.ส. เปิดรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงาน 250 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 24 -31 พฤษภาคม 2566

((รวมลิงก์)) ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ [1]

((รวมลิงก์)) ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ [2]

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 50 อัตรา

กทม. เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 62 อัตรา

เปิดรับสมัครสอบเข้ารับราชการ จำนวน 7,000 อัตรา

กรมสรรพากร เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 900 อัตรา

กรมการปกครอง เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 140 อัตรา

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 25 อัตรา

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 229 อัตรา

เว็บไซต์ ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. อยู่เขตไหน ใช้สิทธิ์ที่ไหน ลำดับเท่าไร รู้หมด!!!

กรมการแพทย์ เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 123 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 พฤษภาคม 2566

สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก 2566 เช็กรายละเอียดที่นี่

แจกแนวข้อสอบ ก.พ. กว่า 3,500 ข้อ(พร้อมเฉลย) และ10 วีดีโอบรรยายข้อสอบ

ด่วน!! มติอนุมัติ กสถ.เปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2565
