จิตแพทย์ ถามพ่อแม่ให้ลูกติวเข้มตั้งแต่อนุบาล...อยากให้ลูกมีชีวิตแบบนี้จริงเหรอ ?

นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
จิตแพทย์เหนื่อยแทนเด็กรุ่นใหม่ ต้องเข้าคอร์สติวตั้งแต่อนุบาล - ไม่มีอิสระ ถามพ่อแม่ต้องการให้ลูกมีชีวิตแบบนี้จริงเหรอ หลังพบคอร์สติวเข้าโรงเรียนดังเต็มไปถึง ปี 64
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2561 โลกโซเชียลมีการแชร์บทความจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก Vivan Sara โดยระบุว่า เป็นบทความที่ผู้แทนรุ่นนักเรียนเก่าจากโรงเรียนแห่งหนึ่งลงไว้ในกลุ่มไลน์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการสอบเด็กอนุบาลเข้าโรงเรียนประถมในหลายเวทีหลายวงการว่ามีแต่ผลเสีย แต่ไม่มีกฏหมายห้ามโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนอื่น ๆ ได้ โรงเรียนอนุบาลก็ไม่ได้สอนตามที่ควรจะเป็นเพื่อพัฒนาเด็กอย่างจริงจัง มัวแต่จะเตรียมเด็กเพื่อไปสอบ เด็กไทยเรียนเพื่อสอบอย่างเดียวเลยตั้งแต่อนุบาล บางคนตั้งแต่เตรียมอนุบาล...เมื่อไรผู้ใหญ่จะเลิกทำร้ายเด็ก
สำหรับเรื่องราวทั้งหมด มีดังนี้
ได้ข่าวว่าคอร์สติวเข้า ป.1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในปี 2564 เต็มแล้ว ทั้งที่ตอนนี้เพิ่งจะต้นปี 2561 แค่ได้ยินก็รู้สึกเหนื่อยแทนเด็กสมัยนี้แล้ว จะต้องรีบเร่งเรียนกันไปถึงไหน เข้าคอร์สติวกันตั้งแต่อนุบาล ถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัยจะเป็นยังไง... เด็กที่ถูกเร่งรัดในหลาย ๆ เรื่องที่เรียกว่า Hurried Child Syndrome ในช่วงแรกอาจตั้งใจเรียนดี เรียนได้ ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเด็กอยากทำให้พ่อแม่ภูมิใจ แต่หากต้องใช้ชีวิตแบบนี้ไปนาน ๆ แบบไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไร อาจทำให้เด็กมีความรู้สึกเฉื่อยชา ไม่มีความสุข ไม่มีความรู้สึกอยากเรียนเหมือนเคย ผลการเรียนตกลง และรู้สึกผิดว่าไม่สามารถทำให้พ่อแม่ภูมิใจได้แบบเดิม
มีเด็กที่ต้องใช้ชีวิตแบบนี้จำนวนหนึ่งเลยที่มาพบจิตแพทย์ เด็กเหล่านี้อายุประมาณ 5-7 ขวบ ที่ต้องเข้าคอร์สติวตั้งแต่อยู่ชั้นอนุบาล 2 พอขึ้นอนุบาล 3 ต้องติวที่โรงเรียนตอนเช้าตั้งแต่ 7 โมงก่อนเคารพธงชาติ เรียนพิเศษตอนเย็น และมีติวพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์ด้วย (อาจมีวันหยุด 1 วัน/สัปดาห์ หรือบางคนก็ไม่มีวันหยุดเลย) ซึ่งอาการที่นำมาอาจแตกต่างกันไป เช่น มีความคิดอยากตาย (ในเด็ก 6 ขวบ) ไม่อยากไปโรงเรียน มีอาการทางกายที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปัสสาวะบ่อย และมีพฤติกรรมถดถอยกว่าที่เคยเป็น
ในทุกเคส เด็ก ๆ บอกตรงกันว่าอยากมีเวลาเป็นอิสระ ได้เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน ได้ไปเที่ยวกับพ่อแม่ และได้ใช้เวลาอยู่กับพ่อแม่เยอะ ๆ ถามคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังจะให้ลูกใช้ชีวิตแบบนี้ อยากให้ลองใคร่ครวญอีกครั้งว่าสิ่งที่คิดนั้นทำเพื่อลูกหรือเพื่อตัวเอง และต้องการให้ลูกมีชีวิตแบบนี้จริง ๆ เหรอ ?
ข่าวจาก @ เว็บไซต์กระปุก ดอทคอม วันที่ 14 มกราคม 2561
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2561 โลกโซเชียลมีการแชร์บทความจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก Vivan Sara โดยระบุว่า เป็นบทความที่ผู้แทนรุ่นนักเรียนเก่าจากโรงเรียนแห่งหนึ่งลงไว้ในกลุ่มไลน์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการสอบเด็กอนุบาลเข้าโรงเรียนประถมในหลายเวทีหลายวงการว่ามีแต่ผลเสีย แต่ไม่มีกฏหมายห้ามโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนอื่น ๆ ได้ โรงเรียนอนุบาลก็ไม่ได้สอนตามที่ควรจะเป็นเพื่อพัฒนาเด็กอย่างจริงจัง มัวแต่จะเตรียมเด็กเพื่อไปสอบ เด็กไทยเรียนเพื่อสอบอย่างเดียวเลยตั้งแต่อนุบาล บางคนตั้งแต่เตรียมอนุบาล...เมื่อไรผู้ใหญ่จะเลิกทำร้ายเด็ก
สำหรับเรื่องราวทั้งหมด มีดังนี้
ได้ข่าวว่าคอร์สติวเข้า ป.1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในปี 2564 เต็มแล้ว ทั้งที่ตอนนี้เพิ่งจะต้นปี 2561 แค่ได้ยินก็รู้สึกเหนื่อยแทนเด็กสมัยนี้แล้ว จะต้องรีบเร่งเรียนกันไปถึงไหน เข้าคอร์สติวกันตั้งแต่อนุบาล ถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัยจะเป็นยังไง... เด็กที่ถูกเร่งรัดในหลาย ๆ เรื่องที่เรียกว่า Hurried Child Syndrome ในช่วงแรกอาจตั้งใจเรียนดี เรียนได้ ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเด็กอยากทำให้พ่อแม่ภูมิใจ แต่หากต้องใช้ชีวิตแบบนี้ไปนาน ๆ แบบไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไร อาจทำให้เด็กมีความรู้สึกเฉื่อยชา ไม่มีความสุข ไม่มีความรู้สึกอยากเรียนเหมือนเคย ผลการเรียนตกลง และรู้สึกผิดว่าไม่สามารถทำให้พ่อแม่ภูมิใจได้แบบเดิม
มีเด็กที่ต้องใช้ชีวิตแบบนี้จำนวนหนึ่งเลยที่มาพบจิตแพทย์ เด็กเหล่านี้อายุประมาณ 5-7 ขวบ ที่ต้องเข้าคอร์สติวตั้งแต่อยู่ชั้นอนุบาล 2 พอขึ้นอนุบาล 3 ต้องติวที่โรงเรียนตอนเช้าตั้งแต่ 7 โมงก่อนเคารพธงชาติ เรียนพิเศษตอนเย็น และมีติวพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์ด้วย (อาจมีวันหยุด 1 วัน/สัปดาห์ หรือบางคนก็ไม่มีวันหยุดเลย) ซึ่งอาการที่นำมาอาจแตกต่างกันไป เช่น มีความคิดอยากตาย (ในเด็ก 6 ขวบ) ไม่อยากไปโรงเรียน มีอาการทางกายที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปัสสาวะบ่อย และมีพฤติกรรมถดถอยกว่าที่เคยเป็น
ในทุกเคส เด็ก ๆ บอกตรงกันว่าอยากมีเวลาเป็นอิสระ ได้เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน ได้ไปเที่ยวกับพ่อแม่ และได้ใช้เวลาอยู่กับพ่อแม่เยอะ ๆ ถามคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังจะให้ลูกใช้ชีวิตแบบนี้ อยากให้ลองใคร่ครวญอีกครั้งว่าสิ่งที่คิดนั้นทำเพื่อลูกหรือเพื่อตัวเอง และต้องการให้ลูกมีชีวิตแบบนี้จริง ๆ เหรอ ?
ข่าวจาก @ เว็บไซต์กระปุก ดอทคอม วันที่ 14 มกราคม 2561
- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
แสดงความคิดเห็น :
- กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพและไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้
ธ.ก.ส. เปิดรรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงาน 1,380 อัตรา ประจำปี 2568

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ 17 อัตรา

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเข้าราชการ 35 อัตรา

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป 116 อัตรา

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ 42 อัตรา

ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ 9,980 อัตรา ประจำเดือน มีนาคม 2568 เช็กตำแหน่งว่างได้ที่นี่

วิธีตรวจสอบคุณวุฒิตามที่ ก.พ. รับรอง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดรับสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2568

((เว็บไซต์สมัครสอบท้องถิ่น68))

สํานักงาน ก.พ. รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจําปี 2568 จำนวน 450,000 ที่นั่ง

ธ.ก.ส. เปิดรรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงาน 1,380 อัตรา ประจำปี 2568

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ 17 อัตรา

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเข้าราชการ 35 อัตรา

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป 116 อัตรา

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ 42 อัตรา

ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ 9,980 อัตรา ประจำเดือน มีนาคม 2568 เช็กตำแหน่งว่างได้ที่นี่

วิธีตรวจสอบคุณวุฒิตามที่ ก.พ. รับรอง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดรับสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2568

((เว็บไซต์สมัครสอบท้องถิ่น68))

สํานักงาน ก.พ. รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจําปี 2568 จำนวน 450,000 ที่นั่ง
