อยู่ไม่ไหว? แรงงานร้อง นายกฯ "ลุงตู่" ปรับ ค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 700 บาท

นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) พร้อมด้วยเครือข่ายแรงงาน แถลงข่าว “ขอให้มีการปรับค่าจ้างในปี 2561” ว่า หลังจากทางคสรท. สรส.และเครือข่ายแรงงงาน เรียกร้องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต่อรัฐบาล ต่อกระทรวงแรงงานมาตลอด แต่ดูเหมือนจะไม่เป็นผล ซึ่งจากการหารือได้ข้อสรุปว่า รัฐบาลต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเป็นธรรมและต้องปรับในปี 2561 เนื่องจากที่ผ่านมาแรงงานอยู่ไม่ได้ด้วยค่าครองชีพตกวันละ 300 บาท แม้จะมีเพิ่มก็เพิ่มไม่เท่ากันทั่วประเทศ เฉลี่ยบางจังหวัดได้ประมาณ 310 บาทต่อวัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพของแรงงานเลย

จากการสำรวจตัวเลขอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อปี 2554 อยู่ที่ ประมาณ 560 บาทต่อวัน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปี หากคิดถึงปัจจุบันก็ควรได้รับค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณวันละ 600-700 บาท แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ว่าตัวเลขต้องตายตัว อยากให้มีการหารือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจริงๆ รวมทั้งขณะนี้ได้มีการทำแบบสอบถามลูกจ้างผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ 77 จังหวัด ถึงค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อนำมาคำนวณว่าสุดท้ายแล้วต้องได้ค่าแรงขั้นต่ำเท่าไหร่ ขณะนี้กระจายไปแล้วกว่า 20 จังหวัด คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม ซึ่งแบบสอบถามทำมาประมาณ 8,000-9,000 ชุด ยังไม่รวมกับแบบสอบถามทางออนไลน์อีก
นายสาวิทย์ กล่าวว่า ปัญหาค่าจ้างเห็นชัดว่าไม่เพียงพอ เพราะเร็วๆ นี้ทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยพูดว่าเงินเพียง 1 แสนบาทต่อปี ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ ถ้าจะพอก็ต้องประมาณ 3 แสนบาท ซึ่งตกเดือนละประมาณ 25,000 บาท ซึ่งทางแรงงานก็ไม่ได้ต้องการว่าต้องถึงขนาดนี้ แต่ก็ต้องเหมาะสมกับค่าครองชีพด้วย
ดังนั้น ในปี 2561 ต้องมีการปรับค่าจ้างให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ และต้องเท่ากันทุกจังหวัด ที่สำคัญควรยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำระดับจังหวัดเสีย เพราะไม่มีประโยชน์ เนื่องจากหลายแห่งไม่มีแรงงานเข้าร่วมเลย ส่วนใหญ่เป็นแต่นายจ้าง ควรมีเฉพาะคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำระดับชาติก็เพียงพอ
ทั้งนี้ นายสาวิทย์ อ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้องที่เสนอต่อรัฐบาล ว่า ที่ผ่านมาเคยเสนอในวันแรงงานแห่งชาติปี 2560 และในปี 2561 ขอเสนอสาระหลักๆ 3 ข้อ คือ
1. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน เนื่องจากที่ผ่านมาลูกจ้างยังคงได้รับค่าจ้างที่ไม่พอต่อการดำรงชีพ ทำให้คนงานไม่มีเงินเพียงพอที่จะสร้างคุณค่าให้ชีวิตที่ ยากจน เป็นหนี้ ซึ่งก็จะส่งผลต่อการบริโภคและภาคการผลิตและอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับตัวเลขมากกว่าความเป็นจริงทางสังคม แท้จริงแล้วประมาณร้อยละ 60 ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า GDP มาจากคนงานและชนชั้นล่าง

2.ให้กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) และต้องเท่ากันทั้งประเทศ
3. กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี อย่างไรก็ตามปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานยังคงพยายามที่จะดำเนินการปรับค่าจ้างตามกรอบความคิดเดิม คือปล่อยค่าจ้างลอยตัวในแต่ละจังหวัดให้ดำเนินการได้เอง และเพิ่มสูตรการคิดให้ซับซ้อนมากขึ้นซึ่งในอนาคตค่าจ้างอาจมีถึง 77 ราคา ไม่เกิดผลดีต่อระบบโครงสร้างค่าจ้าง และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จะเป็นการตอกย้ำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคมมากขึ้น
ขอบคุณข่าวจาก Mthai.com

จากการสำรวจตัวเลขอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อปี 2554 อยู่ที่ ประมาณ 560 บาทต่อวัน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปี หากคิดถึงปัจจุบันก็ควรได้รับค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณวันละ 600-700 บาท แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ว่าตัวเลขต้องตายตัว อยากให้มีการหารือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจริงๆ รวมทั้งขณะนี้ได้มีการทำแบบสอบถามลูกจ้างผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ 77 จังหวัด ถึงค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อนำมาคำนวณว่าสุดท้ายแล้วต้องได้ค่าแรงขั้นต่ำเท่าไหร่ ขณะนี้กระจายไปแล้วกว่า 20 จังหวัด คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม ซึ่งแบบสอบถามทำมาประมาณ 8,000-9,000 ชุด ยังไม่รวมกับแบบสอบถามทางออนไลน์อีก
นายสาวิทย์ กล่าวว่า ปัญหาค่าจ้างเห็นชัดว่าไม่เพียงพอ เพราะเร็วๆ นี้ทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยพูดว่าเงินเพียง 1 แสนบาทต่อปี ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ ถ้าจะพอก็ต้องประมาณ 3 แสนบาท ซึ่งตกเดือนละประมาณ 25,000 บาท ซึ่งทางแรงงานก็ไม่ได้ต้องการว่าต้องถึงขนาดนี้ แต่ก็ต้องเหมาะสมกับค่าครองชีพด้วย
ดังนั้น ในปี 2561 ต้องมีการปรับค่าจ้างให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ และต้องเท่ากันทุกจังหวัด ที่สำคัญควรยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำระดับจังหวัดเสีย เพราะไม่มีประโยชน์ เนื่องจากหลายแห่งไม่มีแรงงานเข้าร่วมเลย ส่วนใหญ่เป็นแต่นายจ้าง ควรมีเฉพาะคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำระดับชาติก็เพียงพอ
ทั้งนี้ นายสาวิทย์ อ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้องที่เสนอต่อรัฐบาล ว่า ที่ผ่านมาเคยเสนอในวันแรงงานแห่งชาติปี 2560 และในปี 2561 ขอเสนอสาระหลักๆ 3 ข้อ คือ
1. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน เนื่องจากที่ผ่านมาลูกจ้างยังคงได้รับค่าจ้างที่ไม่พอต่อการดำรงชีพ ทำให้คนงานไม่มีเงินเพียงพอที่จะสร้างคุณค่าให้ชีวิตที่ ยากจน เป็นหนี้ ซึ่งก็จะส่งผลต่อการบริโภคและภาคการผลิตและอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับตัวเลขมากกว่าความเป็นจริงทางสังคม แท้จริงแล้วประมาณร้อยละ 60 ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า GDP มาจากคนงานและชนชั้นล่าง

2.ให้กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) และต้องเท่ากันทั้งประเทศ
3. กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี อย่างไรก็ตามปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานยังคงพยายามที่จะดำเนินการปรับค่าจ้างตามกรอบความคิดเดิม คือปล่อยค่าจ้างลอยตัวในแต่ละจังหวัดให้ดำเนินการได้เอง และเพิ่มสูตรการคิดให้ซับซ้อนมากขึ้นซึ่งในอนาคตค่าจ้างอาจมีถึง 77 ราคา ไม่เกิดผลดีต่อระบบโครงสร้างค่าจ้าง และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จะเป็นการตอกย้ำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคมมากขึ้น
ขอบคุณข่าวจาก Mthai.com
- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
แสดงความคิดเห็น :
- กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพและไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้
กรมชลประทาน เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 64 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 9-29 มิถุนายน 2566

ธ.ก.ส. รับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงานพัฒนาธุรกิจ ระดับ 4 จำนวน 620 อัตรา

ธ.ก.ส. เปิดรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงาน 250 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 24 -31 พฤษภาคม 2566

((รวมลิงก์)) ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ [1]

((รวมลิงก์)) ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ [2]
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 50 อัตรา

กทม. เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 62 อัตรา

เปิดรับสมัครสอบเข้ารับราชการ จำนวน 7,000 อัตรา

กรมสรรพากร เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 900 อัตรา

กรมการปกครอง เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 140 อัตรา

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 25 อัตรา

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 229 อัตรา

เว็บไซต์ ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. อยู่เขตไหน ใช้สิทธิ์ที่ไหน ลำดับเท่าไร รู้หมด!!!

กรมการแพทย์ เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 123 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 พฤษภาคม 2566

สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก 2566 เช็กรายละเอียดที่นี่

แจกแนวข้อสอบ ก.พ. กว่า 3,500 ข้อ(พร้อมเฉลย) และ10 วีดีโอบรรยายข้อสอบ

ด่วน!! มติอนุมัติ กสถ.เปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2565


ธ.ก.ส. รับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงานพัฒนาธุรกิจ ระดับ 4 จำนวน 620 อัตรา

ธ.ก.ส. เปิดรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงาน 250 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 24 -31 พฤษภาคม 2566

((รวมลิงก์)) ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ [1]

((รวมลิงก์)) ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ [2]

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 50 อัตรา

กทม. เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 62 อัตรา

เปิดรับสมัครสอบเข้ารับราชการ จำนวน 7,000 อัตรา

กรมสรรพากร เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 900 อัตรา

กรมการปกครอง เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 140 อัตรา

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 25 อัตรา

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 229 อัตรา

เว็บไซต์ ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. อยู่เขตไหน ใช้สิทธิ์ที่ไหน ลำดับเท่าไร รู้หมด!!!

กรมการแพทย์ เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 123 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 พฤษภาคม 2566

สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก 2566 เช็กรายละเอียดที่นี่

แจกแนวข้อสอบ ก.พ. กว่า 3,500 ข้อ(พร้อมเฉลย) และ10 วีดีโอบรรยายข้อสอบ

ด่วน!! มติอนุมัติ กสถ.เปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2565
