5 วิธีฝ่าวิกฤติ ในยุคเศรษฐกิจย่ำแย่
นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
5 วิธีฝ่าวิกฤติในยุคเศรษฐกิจย่ำแย่
ช่วงนี้หลายๆ คนโอดครวญกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก รวมถึงสัญญาณเศรษฐกิจต่างๆ ที่รายงานออกมาก็ไม่ค่อยจะเป็นกระแสที่ดีสักเท่าไหร่ และหลายๆคนที่มีอาชีพค้าขาย อาจจะเริ่มมีการบ่นๆ กันบ้างแล้วเรื่องคนใช้จ่ายน้อยลง แต่ก็ขอให้อย่ายอมแพ้กันนะคะ ว่าแล้วก็ วันนี้เรามาดูกันคะว่าวิธีการฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจไม่ดีให้ผ่านไปได้มีอะไรบ้างกันค่ะ
1. ไม่ใช้จ่ายโดยไม่ระวังและไม่มีการวางแผน อะไรประหยัดได้ก็ประหยัด
ขึ้นชื่อว่ายามนี้เศรษฐกิจไม่ดี สิ่งแรกๆที่เราควรนึกถึงคือ การควบคุมรายจ่ายต่างๆ และพยายามเก็บออมให้มากขึ้น เพราะ ไม่รู้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นหรือเปล่า ฉะนั้นเราควรมีการวางแผนการใช้เงินให้ดีเพื่อที่เวลาเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นจะไม่ทำให้เราลำบาก
ส่วนวิธีเริ่มต้นก็สามารถเริ่มได้ง่ายๆจากการทำ บัญชีรายรับและรายจ่าย เพราะจะเป็นการจดบันทึกการใช้จ่ายต่างๆของเรา ทำให้เราสามารถมาดูและเลือกตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อให้เรามีเงินสำรองมากขึ้นได้นั้นเอง
2. ไม่นำเงินสำรองออกมาใช้
หลังจากการวางแผนการใช้จ่าย ก็มาถึงการเก็บรักษาเงินออมของเรา ซึ่งในยามนี้เศรษฐกิจไม่ดี เราก็ควรเก็บออมไว้ให้มากๆจะดีกว่า เพราะการนำเงินสำรองหรือเงินออมออกมาใช้อาจจะทำให้เราเดือดร้อนในอนาคตได้
โดยตามหลักแล้ว เราควรมีเงินสำรองที่แยกจากการออมไว้อีกส่วน โดยเงินสำรองส่วนนี้ อาจจะเรียกว่าเงินสำรองใช้จ่าย ซึ่งถึงจะเรียกว่าเงินสำรองใช้จ่ายแต่เราก็จะไม่หยิบเงินส่วนนี้ออกมาใช้นะคะ จนกว่าจะถึงคราวจำเป็นจริงๆ โดยส่วนใหญ่เงินสำรองส่วนนี้จะอยู่ที่ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือนของเราเอง
ตัวอย่าง : ค่าใช้จ่ายรายเดือนของเราอยู่ที่ 10,000 เราควรมีเงินสำรองใช้จ่าย 6 เท่า จะเท่ากับ 10,000*6 = 60,000 บาท คือจำนวนเงินสำรองใช้จ่ายที่เราควรมีไว้เผื่อฉุกเฉิน แยกต่างหากจากเงินออม
ซึ่งมองแล้วหมายความว่า หากเกิดเหตุไม่ดีทำให้เราต้องออกจากงาน เราก็จะยังคงมีเงินสำรองสำหรับกินใช้ไปอีกอย่างน้อย 6 เดือนโดยไม่กระทบกับเงินออมเลยคะ ส่วนเงินออมให้เก็บไว้คราวจำเป็นจริงๆจะดีกว่าค่ะ
3. ไม่สร้างหนี้ใหม่
เศรษฐกิจไม่ดีการสร้างหนี้ขึ้นมา ย่อมไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีแน่ๆ เพราะการเป็นหนี้ย่อมหมายถึงการที่รายรับของเราจะถูกบั่นทอนลงไปเพื่อนำไปใช้หนี้ ซึ่งส่วนนี้แหล่ะที่อาจจะส่งผลตามมา จนทำให้เราอาจจะต้องก่อหนี้เพิ่มขึ้นไปอีกอย่างไม่จบไม่สิ้น
ฉะนั้นทางที่ดีเศรษฐกิจไม่ดีก็ไม่ควรสร้างหนี้คะ ต่อให้เศรษฐกิจดีก็ไม่ควรสร้างหนี้อยู่ดีค่ะ และในส่วนของคนที่มีหนี้อยู่แล้วก็พยายามเคีลยร์ให้หมดค่ะ เพื่อที่เราจะได้มีเงินเก็บออมได้เยอะขึ้นนั้นเอง
4. ไม่ค้ำประกันและให้หยิบยืมเงิน
การค้ำประกันและการให้ผู้อื่นหยิบยืมเงินนั้น ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นแบบไหน เราก็ควรที่จะคิดให้ดีก่อนตัดสินใจทั้งนั้น เพราะผลที่ตามอาจจะไม่เป็นอย่างที่เราคิดก็ได้ ยิ่งถ้าช่วงเศรษฐกิจไม่ดี ยิ่งไม่ควรค้ำประกันหรือให้ยืมเงินอย่างยิ่ง หรือถ้าจะให้ก็ควรจะคิดอย่างรอบคอบที่สุด พิจารณาตามความจำเป็นจริงๆ
5. ไม่ลงทุนเพิ่มโดยไม่ศึกษาให้ดี
เศรษฐกิจไม่ดีก็คงมีแต่คำแนะนำที่ให้ พักการลงทุนไว้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่หากคิดอีกแง่ในวิกฤตอาจจะมีโอกาสที่ดีรอเราอยู่ก็ได้ แต่กระนั้นเราก็ควรจะมีการศึกษาและวางแผนที่ดี ให้ละเอียดและรอบคอบที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อตัวเราเอง และยิ่งเป็นธุรกิจที่บอกว่ารวยเร็วไม่มีความเสี่ยงยิ่งต้องคิดให้เยอะศึกษาให้หนัก เพราะหากลงทุนไปแบบไม่คิดอาจจะทำให้เสียใจในภายหลังได้นะคะ
หากเห็นว่าจังหวะลงทุนยังไม่มีแต่อยากหารายได้เสริมก็อาจจะรับจ้างทำงานต่างๆที่มีผุ้ว่าจ้างที่เรามีความสามารถที่ทำได้ก็ได้ค่ะ อย่างน้อยๆก็ยังมีเงินเข้ามา และอาจจะต่อยอดไปต่อได้อีกในอนาคตก็ได้ค่ะ
จะเห็นได้ว่าวิธีต่างๆที่ว่ามานั้น ไม่ยากเลย เพียงแค่มีวินัยและมีสติการจะฝ่าวิกฤตก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้วละคะ ลองนำไปประยุกต์ใช้กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนนะคะ หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกๆคนค่ะ
ขอบคุณข้อมูล จาก : www.Masii.co.th เรียบเรียงเนื้อหาโดยทีมงาน @ jobthaidd.com
ช่วงนี้หลายๆ คนโอดครวญกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก รวมถึงสัญญาณเศรษฐกิจต่างๆ ที่รายงานออกมาก็ไม่ค่อยจะเป็นกระแสที่ดีสักเท่าไหร่ และหลายๆคนที่มีอาชีพค้าขาย อาจจะเริ่มมีการบ่นๆ กันบ้างแล้วเรื่องคนใช้จ่ายน้อยลง แต่ก็ขอให้อย่ายอมแพ้กันนะคะ ว่าแล้วก็ วันนี้เรามาดูกันคะว่าวิธีการฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจไม่ดีให้ผ่านไปได้มีอะไรบ้างกันค่ะ
1. ไม่ใช้จ่ายโดยไม่ระวังและไม่มีการวางแผน อะไรประหยัดได้ก็ประหยัด
ขึ้นชื่อว่ายามนี้เศรษฐกิจไม่ดี สิ่งแรกๆที่เราควรนึกถึงคือ การควบคุมรายจ่ายต่างๆ และพยายามเก็บออมให้มากขึ้น เพราะ ไม่รู้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นหรือเปล่า ฉะนั้นเราควรมีการวางแผนการใช้เงินให้ดีเพื่อที่เวลาเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นจะไม่ทำให้เราลำบาก
ส่วนวิธีเริ่มต้นก็สามารถเริ่มได้ง่ายๆจากการทำ บัญชีรายรับและรายจ่าย เพราะจะเป็นการจดบันทึกการใช้จ่ายต่างๆของเรา ทำให้เราสามารถมาดูและเลือกตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อให้เรามีเงินสำรองมากขึ้นได้นั้นเอง
2. ไม่นำเงินสำรองออกมาใช้
หลังจากการวางแผนการใช้จ่าย ก็มาถึงการเก็บรักษาเงินออมของเรา ซึ่งในยามนี้เศรษฐกิจไม่ดี เราก็ควรเก็บออมไว้ให้มากๆจะดีกว่า เพราะการนำเงินสำรองหรือเงินออมออกมาใช้อาจจะทำให้เราเดือดร้อนในอนาคตได้
โดยตามหลักแล้ว เราควรมีเงินสำรองที่แยกจากการออมไว้อีกส่วน โดยเงินสำรองส่วนนี้ อาจจะเรียกว่าเงินสำรองใช้จ่าย ซึ่งถึงจะเรียกว่าเงินสำรองใช้จ่ายแต่เราก็จะไม่หยิบเงินส่วนนี้ออกมาใช้นะคะ จนกว่าจะถึงคราวจำเป็นจริงๆ โดยส่วนใหญ่เงินสำรองส่วนนี้จะอยู่ที่ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือนของเราเอง
ตัวอย่าง : ค่าใช้จ่ายรายเดือนของเราอยู่ที่ 10,000 เราควรมีเงินสำรองใช้จ่าย 6 เท่า จะเท่ากับ 10,000*6 = 60,000 บาท คือจำนวนเงินสำรองใช้จ่ายที่เราควรมีไว้เผื่อฉุกเฉิน แยกต่างหากจากเงินออม
ซึ่งมองแล้วหมายความว่า หากเกิดเหตุไม่ดีทำให้เราต้องออกจากงาน เราก็จะยังคงมีเงินสำรองสำหรับกินใช้ไปอีกอย่างน้อย 6 เดือนโดยไม่กระทบกับเงินออมเลยคะ ส่วนเงินออมให้เก็บไว้คราวจำเป็นจริงๆจะดีกว่าค่ะ
3. ไม่สร้างหนี้ใหม่
เศรษฐกิจไม่ดีการสร้างหนี้ขึ้นมา ย่อมไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีแน่ๆ เพราะการเป็นหนี้ย่อมหมายถึงการที่รายรับของเราจะถูกบั่นทอนลงไปเพื่อนำไปใช้หนี้ ซึ่งส่วนนี้แหล่ะที่อาจจะส่งผลตามมา จนทำให้เราอาจจะต้องก่อหนี้เพิ่มขึ้นไปอีกอย่างไม่จบไม่สิ้น
ฉะนั้นทางที่ดีเศรษฐกิจไม่ดีก็ไม่ควรสร้างหนี้คะ ต่อให้เศรษฐกิจดีก็ไม่ควรสร้างหนี้อยู่ดีค่ะ และในส่วนของคนที่มีหนี้อยู่แล้วก็พยายามเคีลยร์ให้หมดค่ะ เพื่อที่เราจะได้มีเงินเก็บออมได้เยอะขึ้นนั้นเอง
4. ไม่ค้ำประกันและให้หยิบยืมเงิน
การค้ำประกันและการให้ผู้อื่นหยิบยืมเงินนั้น ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นแบบไหน เราก็ควรที่จะคิดให้ดีก่อนตัดสินใจทั้งนั้น เพราะผลที่ตามอาจจะไม่เป็นอย่างที่เราคิดก็ได้ ยิ่งถ้าช่วงเศรษฐกิจไม่ดี ยิ่งไม่ควรค้ำประกันหรือให้ยืมเงินอย่างยิ่ง หรือถ้าจะให้ก็ควรจะคิดอย่างรอบคอบที่สุด พิจารณาตามความจำเป็นจริงๆ
5. ไม่ลงทุนเพิ่มโดยไม่ศึกษาให้ดี
เศรษฐกิจไม่ดีก็คงมีแต่คำแนะนำที่ให้ พักการลงทุนไว้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่หากคิดอีกแง่ในวิกฤตอาจจะมีโอกาสที่ดีรอเราอยู่ก็ได้ แต่กระนั้นเราก็ควรจะมีการศึกษาและวางแผนที่ดี ให้ละเอียดและรอบคอบที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อตัวเราเอง และยิ่งเป็นธุรกิจที่บอกว่ารวยเร็วไม่มีความเสี่ยงยิ่งต้องคิดให้เยอะศึกษาให้หนัก เพราะหากลงทุนไปแบบไม่คิดอาจจะทำให้เสียใจในภายหลังได้นะคะ
หากเห็นว่าจังหวะลงทุนยังไม่มีแต่อยากหารายได้เสริมก็อาจจะรับจ้างทำงานต่างๆที่มีผุ้ว่าจ้างที่เรามีความสามารถที่ทำได้ก็ได้ค่ะ อย่างน้อยๆก็ยังมีเงินเข้ามา และอาจจะต่อยอดไปต่อได้อีกในอนาคตก็ได้ค่ะ
จะเห็นได้ว่าวิธีต่างๆที่ว่ามานั้น ไม่ยากเลย เพียงแค่มีวินัยและมีสติการจะฝ่าวิกฤตก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้วละคะ ลองนำไปประยุกต์ใช้กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนนะคะ หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกๆคนค่ะ
ขอบคุณข้อมูล จาก : www.Masii.co.th เรียบเรียงเนื้อหาโดยทีมงาน @ jobthaidd.com
- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
แสดงความคิดเห็น :
- กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพและไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้
กรมชลประทาน เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการ 361 อัตรา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ 6,321 อัตรา
กรมทางหลวงชนบท รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป 111 อัตรา
กรมชลประทาน เปิดรับสมัครสอบบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ 64 อัตรา
กองบัญชาการกองทัพไทย เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 75 อัตรา
กองทัพบก เปิดรับสมัครบุคคลเข้าปฏิบัติงานในกองทัพบก 2,394 อัตรา
กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!
กรมชลประทาน เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการ 361 อัตรา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ 6,321 อัตรา
กรมทางหลวงชนบท รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป 111 อัตรา
กรมชลประทาน เปิดรับสมัครสอบบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ 64 อัตรา
กองบัญชาการกองทัพไทย เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 75 อัตรา
กองทัพบก เปิดรับสมัครบุคคลเข้าปฏิบัติงานในกองทัพบก 2,394 อัตรา
กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!