ห้ามพลาด 6 วิธีเป็นฟรีแลนซ์ก็รวยได้
นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
6 วิธีเป็นฟรีแลนซ์ก็รวยได้
ปัจจุบันการทำงานแบบฟรีแลนซ์ถือเป็นงานยอดฮิตที่คนรุ่นใหม่หลายๆ คนไฝ่ฝัน เพราะไม่ต้องไปขึ้นอยู่กับใคร บริษัทไหน มีอิสระและความยืดหยุ่นในการทำงานสูง จะทำที่ไหนก็ได้ จะทำตอนไหนก็ได้ ฟังแล้วดูเหมือนสบายเป็นเจ้านายตัวเอง
แต่ความจริงแล้ว งานฟรีแลนซ์เป็นงานที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงมาก และต้องทุ่มเทกับงานมากด้วยค่ะ เพราะถ้างานคุณภาพไม่ดี ส่งงานให้ลูกค้าไม่ตรงเวลา ต่อไปใครจะมาจ้าง แถมรายได้หาย แล้วยังต้องมาคอยหาลูกค้าตลอดเวลาอีกต่างหาก
ถ้าเมื่อไรที่เรามีคนจ้างเยอะๆ รายได้เราก็จะพุ่ง แต่ถ้าช่วงไหนที่เงียบๆ ไม่ค่อยมีคนมาติดต่อจ้างงาน เราก็จะแทบไม่มีรายได้เลย และเวลาคนจ้างที ใช่ว่าเขาจะจ่ายเงินให้ครบหมดทันที ต้องมีช่วงที่เราไม่ได้เงินเพราะต้องทำงานให้เสร็จแล้วถึงได้เงินก้อนสุดท้าย ซึ่งก็ต้องรอลูกค้าโอนอีก
แล้วอย่างนี้จะอยู่ยังไง จะวางแผนการเงินยังไงในเมื่อรายได้ไม่คงที่ เงินค่าแรงยังไม่เข้า แต่ค่าใช้จ่ายกลับกองอยู่ตรงหน้าเป็นประจำสม่ำเสมอ?
นี่คือข้อเสียอย่างหนึ่งของการเป็นฟรีแลนซ์ที่เราต้องจัดการให้ได้ มาดูเคล็ดลับการบริหารเงินของฟรีแลนซ์ให้มีเงินใช้สม่ำเสมอกันค่ะ
1. ออมเงินเป็นประจำ
ด้วยความที่รายได้ที่เข้ามาไม่คงที่ การจะออมเงินแบบมนุษย์เงินเดือนคนอื่นๆ ก็ทำได้ยากนะคะ แม้เราจะไม่รู้ว่าเดือนนี้เราจะได้เงินเท่าไร เราก็ยังสามารถวางแผนการออมเงินได้ เมื่อไรก็ตามที่ลูกค้าโอนเงินเข้ามาให้แล้ว ให้คุณแบ่งเงินบางส่วนเข้าบัญชีเงินออมทันที เช่น ลูกค้าโอนเงินเข้ามา 5,000 บาท เราก็รีบเก็บเข้าบัญชีเงินออมเลย อาจจะแค่ 500 บาท ก็ได้ เป็นต้น และต้องทำอย่างนี้ทุกครั้งที่เงินเข้านะคะ
2. สำรองเงินฉุกเฉิน
เพราะธรรมชาติของอาชีพนี้คือความไม่แน่นอนในด้านของรายได้ ขณะที่รายจ่ายในชีวิตประจำวันของเราดูจะแน่นอนเหลือเกิน แถมมีความแน่นอนว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วยซ้ำขัดแย้งกันอย่างนี้ แสดงว่าเราต้องมีแผนสำรองหากมีช่วงไหนที่ไม่มีรายได้เข้ามาเลย คุณต้องแบ่งเงินออกจากส่วนเงินออมออกมา เป็นเงินส่วนฉุกเฉิน เพื่อรองรับสถานการณ์อย่างนี้
จำนวนเงินที่เราควรมีสำรองเผื่อฉุกเฉิน ควรเป็นจำนวนเงินประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็นอย่างน้อย หมายความว่า ถ้าเกิดไม่มีงานเข้ามาเลย หรือเงินยังไม่เข้าในช่วงระยะครึ่งปี เราจะยังสามารถใช้ชีวิตไปได้โดยไม่ต้องลำบากตลอด 6 เดือน
3. ทำรายรับรายจ่าย
ข้อนี้สำคัญมากค่ะ ฟรีแลนซ์หลายๆ คนคงเคยเจอเหตุการณ์ที่ว่า ลูกค้าเพิ่งโอนเงินเข้ามาไม่นาน แถมยังทำตั้งหลายงาน แล้วตอนนี้เงินหายไปไหนหมด ก็เพราะว่าเราอาจไม่เคยติดตามจำนวนเงินเข้าเงินออกเป็นประจำไงล่ะคะ
เราขอแนะนำให้สมัคร E-banking หรือ บริการออนไลน์ของธนาคารไว้ และอาจจะใช้บริการพวก SMS Alert ด้วย เวลาลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชี หรือเวลาเงินออกจากบัญชี จะได้รู้ทันที และสามารถนำมาจดได้ทีหลังสบายๆ ด้วย
พอเราจดรายรับรายจ่ายเป็นประจำ (อย่าลืมจดด้วยนะคะว่าออมเงินเท่าไรบ้าง) เท่านี้ก็จะหมดปัญหาเงินหายไปไหน หาสาเหตุไม่เจอแล้วล่ะค่ะ
4. ทำประกัน
ด้วยความที่ฟรีแลนซ์เป็นอาชีพที่ไม่มีนายจ้าง ก็เลยไม่มีสวัสดิการในเรื่องของการประกันชีวิตและสุขภาพอย่างมนุษย์เงินเดือนคนอื่นๆ พอเกิดเหตุไม่คาดฝัน เราจะไม่ได้รับเงินชดเชยกรณีที่เราเสียชีวิตหรือทำงานต่อไม่ได้ แล้วถ้าเราเป็นคนหารายได้หลักของครอบครัว แบบนี้ครอบครัวคงเดือดร้อนมากแน่ๆ
หรือถ้าเราป่วย ต้องเข้าโรงพยาบาล เราก็เบิกค่ารักษาไม่ได้ ถ้าเป็นการป่วยเล็กๆ น้อยๆ อาจจะไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไร แต่ถ้าเราป่วยหนักขึ้นมา ค่าใช้จ่ายตรงนี้อาจทำให้เราต้องเสียเงินทั้งหมดที่ออมมาตลอดก็ได้นะคะ
การทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ จะช่วยให้ความคุ้มครองกับเรา และจะเป็นประโยชน์ต่อคนในครอบครัวที่เรารักอีกด้วยค่ะ ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดีๆ แล้วทำไว้เลย
5. นำเงินไปลงทุน
ถ้าเราจัดการเงินของตัวเองได้อย่างเป็นระบบ มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพียงพอแล้ว เงินออมของเราสามารถนำมาเป็นเงินลงทุนเพื่อให้เงินที่มีไม่ได้กินดอกเบี้ยเฉยๆ แต่เกิดการงอกเงยและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ถ้าเรารับความเสี่ยงได้น้อย ก็ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย เช่น ตราสารหนี้ ถ้ารับความเสี่ยงได้มาก ก็เล่นหุ้นเลยค่ะ แต่ถ้าเกิดไม่มีความรู้เรื่องนี้เท่าไร ลองลงทุนใน กองทุนรวม จะได้มีคนคอยจัดการแทนเราค่ะ
6. วางแผนเกษียณ
จริงอยู่ที่การเป็นฟรีแลนซ์ส่วนมาก ยิ่งทำไปนานๆ มีประสบการณ์เยอะ ยิ่งทำให้รายได้สูงขึ้น แต่สักวันหนึ่ง เราก็คงจะแก่เกินกว่าที่จะมานั่งทำงานทั้งวันทั้งคืนอย่างตอนนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนสำหรับชีวิตวัยเกษียณของเราด้วย
วันนี้ที่เรายังมีแรงทำงานหาเงินได้ เราสามารถเก็บเงินเพื่อการเกษียณโดยการซื้อ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF) ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว แถมยังนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย พอเกษียณตัวเองเมื่อไร ก็สามารถขายคืนหน่วยลงทุนแล้วนำเงินตรงนั้นมาใช้ได้
การเป็นฟรีแลนซ์ ไม่ใช่มีแต่ความอิสระในการรับงานและการใช้ชีวิตเท่านั้น แต่ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบต่อทั้งตัวลูกค้า และตนเองด้วย การวางแผนทางการเงินที่ดีถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่ออนาคตของตัวเองอย่างหนึ่ง เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า เดือนหน้าเราจะมีคนจ้างงานไหม แล้วเงินจะพอใช้หรือเปล่า และที่สำคัญ ตอนแก่ทำงานไม่ไหว เราจะมีเงินใช้ไหม ดังนั้น วางแผนการเงินของตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ จะดีต่อตัวเราเองที่สุดค่ะ
ขอบคุณข้อมูล จาก : www.Masii.co.th เรียบเรียงโดย @ Jobthaidd.com
ปัจจุบันการทำงานแบบฟรีแลนซ์ถือเป็นงานยอดฮิตที่คนรุ่นใหม่หลายๆ คนไฝ่ฝัน เพราะไม่ต้องไปขึ้นอยู่กับใคร บริษัทไหน มีอิสระและความยืดหยุ่นในการทำงานสูง จะทำที่ไหนก็ได้ จะทำตอนไหนก็ได้ ฟังแล้วดูเหมือนสบายเป็นเจ้านายตัวเอง
แต่ความจริงแล้ว งานฟรีแลนซ์เป็นงานที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงมาก และต้องทุ่มเทกับงานมากด้วยค่ะ เพราะถ้างานคุณภาพไม่ดี ส่งงานให้ลูกค้าไม่ตรงเวลา ต่อไปใครจะมาจ้าง แถมรายได้หาย แล้วยังต้องมาคอยหาลูกค้าตลอดเวลาอีกต่างหาก
ถ้าเมื่อไรที่เรามีคนจ้างเยอะๆ รายได้เราก็จะพุ่ง แต่ถ้าช่วงไหนที่เงียบๆ ไม่ค่อยมีคนมาติดต่อจ้างงาน เราก็จะแทบไม่มีรายได้เลย และเวลาคนจ้างที ใช่ว่าเขาจะจ่ายเงินให้ครบหมดทันที ต้องมีช่วงที่เราไม่ได้เงินเพราะต้องทำงานให้เสร็จแล้วถึงได้เงินก้อนสุดท้าย ซึ่งก็ต้องรอลูกค้าโอนอีก
แล้วอย่างนี้จะอยู่ยังไง จะวางแผนการเงินยังไงในเมื่อรายได้ไม่คงที่ เงินค่าแรงยังไม่เข้า แต่ค่าใช้จ่ายกลับกองอยู่ตรงหน้าเป็นประจำสม่ำเสมอ?
นี่คือข้อเสียอย่างหนึ่งของการเป็นฟรีแลนซ์ที่เราต้องจัดการให้ได้ มาดูเคล็ดลับการบริหารเงินของฟรีแลนซ์ให้มีเงินใช้สม่ำเสมอกันค่ะ
1. ออมเงินเป็นประจำ
ด้วยความที่รายได้ที่เข้ามาไม่คงที่ การจะออมเงินแบบมนุษย์เงินเดือนคนอื่นๆ ก็ทำได้ยากนะคะ แม้เราจะไม่รู้ว่าเดือนนี้เราจะได้เงินเท่าไร เราก็ยังสามารถวางแผนการออมเงินได้ เมื่อไรก็ตามที่ลูกค้าโอนเงินเข้ามาให้แล้ว ให้คุณแบ่งเงินบางส่วนเข้าบัญชีเงินออมทันที เช่น ลูกค้าโอนเงินเข้ามา 5,000 บาท เราก็รีบเก็บเข้าบัญชีเงินออมเลย อาจจะแค่ 500 บาท ก็ได้ เป็นต้น และต้องทำอย่างนี้ทุกครั้งที่เงินเข้านะคะ
2. สำรองเงินฉุกเฉิน
เพราะธรรมชาติของอาชีพนี้คือความไม่แน่นอนในด้านของรายได้ ขณะที่รายจ่ายในชีวิตประจำวันของเราดูจะแน่นอนเหลือเกิน แถมมีความแน่นอนว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วยซ้ำขัดแย้งกันอย่างนี้ แสดงว่าเราต้องมีแผนสำรองหากมีช่วงไหนที่ไม่มีรายได้เข้ามาเลย คุณต้องแบ่งเงินออกจากส่วนเงินออมออกมา เป็นเงินส่วนฉุกเฉิน เพื่อรองรับสถานการณ์อย่างนี้
จำนวนเงินที่เราควรมีสำรองเผื่อฉุกเฉิน ควรเป็นจำนวนเงินประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็นอย่างน้อย หมายความว่า ถ้าเกิดไม่มีงานเข้ามาเลย หรือเงินยังไม่เข้าในช่วงระยะครึ่งปี เราจะยังสามารถใช้ชีวิตไปได้โดยไม่ต้องลำบากตลอด 6 เดือน
3. ทำรายรับรายจ่าย
ข้อนี้สำคัญมากค่ะ ฟรีแลนซ์หลายๆ คนคงเคยเจอเหตุการณ์ที่ว่า ลูกค้าเพิ่งโอนเงินเข้ามาไม่นาน แถมยังทำตั้งหลายงาน แล้วตอนนี้เงินหายไปไหนหมด ก็เพราะว่าเราอาจไม่เคยติดตามจำนวนเงินเข้าเงินออกเป็นประจำไงล่ะคะ
เราขอแนะนำให้สมัคร E-banking หรือ บริการออนไลน์ของธนาคารไว้ และอาจจะใช้บริการพวก SMS Alert ด้วย เวลาลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชี หรือเวลาเงินออกจากบัญชี จะได้รู้ทันที และสามารถนำมาจดได้ทีหลังสบายๆ ด้วย
พอเราจดรายรับรายจ่ายเป็นประจำ (อย่าลืมจดด้วยนะคะว่าออมเงินเท่าไรบ้าง) เท่านี้ก็จะหมดปัญหาเงินหายไปไหน หาสาเหตุไม่เจอแล้วล่ะค่ะ
4. ทำประกัน
ด้วยความที่ฟรีแลนซ์เป็นอาชีพที่ไม่มีนายจ้าง ก็เลยไม่มีสวัสดิการในเรื่องของการประกันชีวิตและสุขภาพอย่างมนุษย์เงินเดือนคนอื่นๆ พอเกิดเหตุไม่คาดฝัน เราจะไม่ได้รับเงินชดเชยกรณีที่เราเสียชีวิตหรือทำงานต่อไม่ได้ แล้วถ้าเราเป็นคนหารายได้หลักของครอบครัว แบบนี้ครอบครัวคงเดือดร้อนมากแน่ๆ
หรือถ้าเราป่วย ต้องเข้าโรงพยาบาล เราก็เบิกค่ารักษาไม่ได้ ถ้าเป็นการป่วยเล็กๆ น้อยๆ อาจจะไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไร แต่ถ้าเราป่วยหนักขึ้นมา ค่าใช้จ่ายตรงนี้อาจทำให้เราต้องเสียเงินทั้งหมดที่ออมมาตลอดก็ได้นะคะ
การทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ จะช่วยให้ความคุ้มครองกับเรา และจะเป็นประโยชน์ต่อคนในครอบครัวที่เรารักอีกด้วยค่ะ ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดีๆ แล้วทำไว้เลย
5. นำเงินไปลงทุน
ถ้าเราจัดการเงินของตัวเองได้อย่างเป็นระบบ มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพียงพอแล้ว เงินออมของเราสามารถนำมาเป็นเงินลงทุนเพื่อให้เงินที่มีไม่ได้กินดอกเบี้ยเฉยๆ แต่เกิดการงอกเงยและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ถ้าเรารับความเสี่ยงได้น้อย ก็ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย เช่น ตราสารหนี้ ถ้ารับความเสี่ยงได้มาก ก็เล่นหุ้นเลยค่ะ แต่ถ้าเกิดไม่มีความรู้เรื่องนี้เท่าไร ลองลงทุนใน กองทุนรวม จะได้มีคนคอยจัดการแทนเราค่ะ
6. วางแผนเกษียณ
จริงอยู่ที่การเป็นฟรีแลนซ์ส่วนมาก ยิ่งทำไปนานๆ มีประสบการณ์เยอะ ยิ่งทำให้รายได้สูงขึ้น แต่สักวันหนึ่ง เราก็คงจะแก่เกินกว่าที่จะมานั่งทำงานทั้งวันทั้งคืนอย่างตอนนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนสำหรับชีวิตวัยเกษียณของเราด้วย
วันนี้ที่เรายังมีแรงทำงานหาเงินได้ เราสามารถเก็บเงินเพื่อการเกษียณโดยการซื้อ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF) ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว แถมยังนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย พอเกษียณตัวเองเมื่อไร ก็สามารถขายคืนหน่วยลงทุนแล้วนำเงินตรงนั้นมาใช้ได้
การเป็นฟรีแลนซ์ ไม่ใช่มีแต่ความอิสระในการรับงานและการใช้ชีวิตเท่านั้น แต่ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบต่อทั้งตัวลูกค้า และตนเองด้วย การวางแผนทางการเงินที่ดีถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่ออนาคตของตัวเองอย่างหนึ่ง เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า เดือนหน้าเราจะมีคนจ้างงานไหม แล้วเงินจะพอใช้หรือเปล่า และที่สำคัญ ตอนแก่ทำงานไม่ไหว เราจะมีเงินใช้ไหม ดังนั้น วางแผนการเงินของตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ จะดีต่อตัวเราเองที่สุดค่ะ
ขอบคุณข้อมูล จาก : www.Masii.co.th เรียบเรียงโดย @ Jobthaidd.com
- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
แสดงความคิดเห็น :
- กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพและไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครสอบบุคคลเข้ารับราชการ 94 อัตรา
ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก (Paper & Pencil) ประจำปี 2567
กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครสอบบุคคลเข้ารับราชการ 94 อัตรา
ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก (Paper & Pencil) ประจำปี 2567
กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!