ขยายอายุเกษียณ 65 ปี ช่วยรัฐลดภาระค่าใช้จ่าย ในการดูแลผู้สูงอายุ

นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา มีประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสังคมอยู่มากเรื่องหนึ่ง นั่นคือกรณีของ กระทรวงการคลัง ที่เสนอแนวคิดให้ “ปรับเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” จากเดิมที่จ่ายให้กับผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทุกคน จะเปลี่ยนเป็นการจ่ายให้เฉพาะผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปซึ่งมีรายได้ไม่เกิน 9,000 บาทต่อเดือน หรือมีทรัพย์สินไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่าจะประหยัดงบประมาณภาครัฐไปได้ถึง 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ทว่าก็มีเสียงวิพากษ์อยู่ไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วย ทั้งที่มองเรื่องความเท่าเทียมเสมอภาคบ้าง รวมถึงกลัวจะเกิดการเลือกปฏิบัติบ้าง
ประเด็นนี้ กมลชนก ขำสุวรรณ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ให้มุมมองว่า ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2557 จาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่ได้รับจากบุตร (ร้อยละ 36.7) รองลงมาคือรายได้จากการทำงาน (ร้อยละ 33.9) เบี้ยยังชีพ (ร้อยละ 14.8) บำเหน็จบำนาญ (ร้อยละ 4.9) คู่สมรส (ร้อยละ 4.3) ดอกเบี้ยเงินออม (ร้อยละ 3.9)

ชี้ให้เห็นว่า..คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย “ไม่มั่นคง” เพราะรายได้หลัก 3 อันดับแรกมาจากการต้องพึ่งพาบุตรหลาน การต้องทำงานต่อไปแม้อายุถึงวัยเกษียณ รวมถึงการต้องรอคอยเงินอุดหนุนจากภาครัฐในรูปเบี้ยยังชีพ ส่วนผู้ได้รับบำนาญน้อยมาก เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปัจจุบันประกอบอาชีพอิสระ-รับจ้าง ไม่มีเงินออมเป็นกิจจะลักษณะ
สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และคณะ เมื่อปี 2551 ที่พบว่า ระบบบำนาญในประเทศไทย ครอบคลุมบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาชิกกองทุนประกันสังคม ลูกจ้างเอกชน ครูเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการ
ขณะที่คนไทยอีกราว “30 ล้านคน” เป็น “แรงงานนอกระบบ” ไม่มีสวัสดิการใดๆ!!!
ดร.วรวรรณ เสนอแนะหลังการศึกษาครั้งนี้ว่า “ควรยกระดับเบี้ยยังชีพให้เป็นระบบบำนาญแห่งชาติ” เพื่อให้ประชาชน ไม่ว่าจะรวยหรือจนก็สามารถเข้าถึงสวัสดิการที่เป็นหลักประกันทางรายได้จากรัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน ที่สำคัญยังช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ต้องมีตราบาปหรือทัศนคติเชิงลบในเรื่องการรอรับการสงเคราะห์อีกต่อไป นอกจากนี้ระบบบำนาญแห่งชาติยังมีหลายระบบย่อยครอบคลุมคนหลากหลายกลุ่ม และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงได้หลายระบบพร้อมกัน
ทำให้มีโอกาสได้มี “หลักประกันทางการเงินยามชราภาพ” เพิ่มขึ้นจากหลายระบบ!!!
ขณะเดียวกัน นโยบายระยะยาวของภาครัฐ กมลชนก เสนอว่า ทางออกที่ดีที่สุดคือ “ขยายอายุเกษียณเป็น 65 ปี” เพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่ในระบบแรงงานนานที่สุดจะได้มีรายได้จากการทำงานประจำออกไปให้ช้าลง รัฐก็จะได้ประหยัดงบประมาณในการจ่ายค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุช้าลง
ซึ่งจากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2550-2557 สัดส่วนผู้สูงอายุที่รับเงินบำนาญและเบี้ยยังชีพเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากร้อยละ 29.8 (2550) เป็น ร้อยละ 88.9 (2554) และร้อยละ 91.2 (2557) ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของภาระทางการเงินการคลังของรัฐบาล อีกทั้งมีผลต่อความยั่งยืนทางการคลังของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณจำนวนมาก และเป็นงบประมาณที่ผูกพันระยะยาว
ข้อมูลจากสภาพัฒน์ ระบุว่า ในปี 2558 รัฐบาลได้จ่ายเงินค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งหมดเป็นเงิน 6 หมื่นล้านบาท และคาดว่าในปี 2573 รัฐจะต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งหมดถึง 101,905 ล้านบาท แต่หากขยายอายุเกษียณเป็น 65 ปี ในปี 2558 รัฐจะจ่ายเงินค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุเพียง 40,063 บาท ขณะที่ในปี 2573 คาดว่ารัฐจะต้องจ่ายเพียง 73,343 บาทเท่านั้น
การเพิ่มขึ้นของอายุเฉลี่ยของประชากรไทย ส่งผลให้ระยะเวลาของการใช้จ่ายยามชราภาพยาวมากขึ้น ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มขึ้นและมีโอกาสส่งผลต่อเนื่อง ทำให้รายได้และ/หรือเงินออมที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ที่ผ่านมาการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังมีปัญหาทั้งเรื่องของความพอเพียงของจำนวนเงินสำหรับผู้สูงอายุที่ยากจน และเรื่องนโยบายประชานิยม
ดังนั้น การจ่ายเงินอุดหนุนผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสังคมไทย น่าจะเป็นจำนวนเงินที่ “มากกว่าเส้นความยากจน” ส่วนแหล่งเงินก็น่าจะเป็นภาครัฐ และถ้าจะไม่ให้กระทบกับงบประมาณ ก็ต้องขยายอายุเกษียณ จาก 60 ปี เป็น 65 ปี อย่างไรก็ตามการออกแบบเงินอุดหนุนให้ผู้สูงอายุ ยังคงเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณจำนวนมาก และมีภาระที่ผูกพันระยะยาว !!!
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาข่าวจาก @ http://www.naewna.com/local/218856
ประเด็นนี้ กมลชนก ขำสุวรรณ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ให้มุมมองว่า ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2557 จาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่ได้รับจากบุตร (ร้อยละ 36.7) รองลงมาคือรายได้จากการทำงาน (ร้อยละ 33.9) เบี้ยยังชีพ (ร้อยละ 14.8) บำเหน็จบำนาญ (ร้อยละ 4.9) คู่สมรส (ร้อยละ 4.3) ดอกเบี้ยเงินออม (ร้อยละ 3.9)

ชี้ให้เห็นว่า..คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย “ไม่มั่นคง” เพราะรายได้หลัก 3 อันดับแรกมาจากการต้องพึ่งพาบุตรหลาน การต้องทำงานต่อไปแม้อายุถึงวัยเกษียณ รวมถึงการต้องรอคอยเงินอุดหนุนจากภาครัฐในรูปเบี้ยยังชีพ ส่วนผู้ได้รับบำนาญน้อยมาก เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปัจจุบันประกอบอาชีพอิสระ-รับจ้าง ไม่มีเงินออมเป็นกิจจะลักษณะ
สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และคณะ เมื่อปี 2551 ที่พบว่า ระบบบำนาญในประเทศไทย ครอบคลุมบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาชิกกองทุนประกันสังคม ลูกจ้างเอกชน ครูเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการ
ขณะที่คนไทยอีกราว “30 ล้านคน” เป็น “แรงงานนอกระบบ” ไม่มีสวัสดิการใดๆ!!!
ดร.วรวรรณ เสนอแนะหลังการศึกษาครั้งนี้ว่า “ควรยกระดับเบี้ยยังชีพให้เป็นระบบบำนาญแห่งชาติ” เพื่อให้ประชาชน ไม่ว่าจะรวยหรือจนก็สามารถเข้าถึงสวัสดิการที่เป็นหลักประกันทางรายได้จากรัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน ที่สำคัญยังช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ต้องมีตราบาปหรือทัศนคติเชิงลบในเรื่องการรอรับการสงเคราะห์อีกต่อไป นอกจากนี้ระบบบำนาญแห่งชาติยังมีหลายระบบย่อยครอบคลุมคนหลากหลายกลุ่ม และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงได้หลายระบบพร้อมกัน
ทำให้มีโอกาสได้มี “หลักประกันทางการเงินยามชราภาพ” เพิ่มขึ้นจากหลายระบบ!!!
ขณะเดียวกัน นโยบายระยะยาวของภาครัฐ กมลชนก เสนอว่า ทางออกที่ดีที่สุดคือ “ขยายอายุเกษียณเป็น 65 ปี” เพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่ในระบบแรงงานนานที่สุดจะได้มีรายได้จากการทำงานประจำออกไปให้ช้าลง รัฐก็จะได้ประหยัดงบประมาณในการจ่ายค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุช้าลง
ซึ่งจากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2550-2557 สัดส่วนผู้สูงอายุที่รับเงินบำนาญและเบี้ยยังชีพเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากร้อยละ 29.8 (2550) เป็น ร้อยละ 88.9 (2554) และร้อยละ 91.2 (2557) ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของภาระทางการเงินการคลังของรัฐบาล อีกทั้งมีผลต่อความยั่งยืนทางการคลังของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณจำนวนมาก และเป็นงบประมาณที่ผูกพันระยะยาว
ข้อมูลจากสภาพัฒน์ ระบุว่า ในปี 2558 รัฐบาลได้จ่ายเงินค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งหมดเป็นเงิน 6 หมื่นล้านบาท และคาดว่าในปี 2573 รัฐจะต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งหมดถึง 101,905 ล้านบาท แต่หากขยายอายุเกษียณเป็น 65 ปี ในปี 2558 รัฐจะจ่ายเงินค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุเพียง 40,063 บาท ขณะที่ในปี 2573 คาดว่ารัฐจะต้องจ่ายเพียง 73,343 บาทเท่านั้น
การเพิ่มขึ้นของอายุเฉลี่ยของประชากรไทย ส่งผลให้ระยะเวลาของการใช้จ่ายยามชราภาพยาวมากขึ้น ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มขึ้นและมีโอกาสส่งผลต่อเนื่อง ทำให้รายได้และ/หรือเงินออมที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ที่ผ่านมาการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังมีปัญหาทั้งเรื่องของความพอเพียงของจำนวนเงินสำหรับผู้สูงอายุที่ยากจน และเรื่องนโยบายประชานิยม
ดังนั้น การจ่ายเงินอุดหนุนผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสังคมไทย น่าจะเป็นจำนวนเงินที่ “มากกว่าเส้นความยากจน” ส่วนแหล่งเงินก็น่าจะเป็นภาครัฐ และถ้าจะไม่ให้กระทบกับงบประมาณ ก็ต้องขยายอายุเกษียณ จาก 60 ปี เป็น 65 ปี อย่างไรก็ตามการออกแบบเงินอุดหนุนให้ผู้สูงอายุ ยังคงเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณจำนวนมาก และมีภาระที่ผูกพันระยะยาว !!!
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาข่าวจาก @ http://www.naewna.com/local/218856
- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
แสดงความคิดเห็น :
- กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพและไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้
ธ.ก.ส. เปิดรรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงาน 1,380 อัตรา ประจำปี 2568

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ 17 อัตรา

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเข้าราชการ 35 อัตรา

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป 116 อัตรา

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ 42 อัตรา

ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ 9,980 อัตรา ประจำเดือน มีนาคม 2568 เช็กตำแหน่งว่างได้ที่นี่

วิธีตรวจสอบคุณวุฒิตามที่ ก.พ. รับรอง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดรับสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2568

((เว็บไซต์สมัครสอบท้องถิ่น68))

สํานักงาน ก.พ. รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจําปี 2568 จำนวน 450,000 ที่นั่ง

ธ.ก.ส. เปิดรรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเป็นพนักงาน 1,380 อัตรา ประจำปี 2568

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ 17 อัตรา

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเข้าราชการ 35 อัตรา

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป 116 อัตรา

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ 42 อัตรา

ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ 9,980 อัตรา ประจำเดือน มีนาคม 2568 เช็กตำแหน่งว่างได้ที่นี่

วิธีตรวจสอบคุณวุฒิตามที่ ก.พ. รับรอง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดรับสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2568

((เว็บไซต์สมัครสอบท้องถิ่น68))

สํานักงาน ก.พ. รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจําปี 2568 จำนวน 450,000 ที่นั่ง
