เตือนหนุ่มสาว-เด็ก 7พฤติกรรมเสี่ยง’ไตพัง’ไม่รู้ตัว
นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
ใครที่เคยเชื่อว่าโรคไตเกิดจากการบริโภค “เค็ม” แต่เพียงอย่างเดียว ต้องคิดใหม่
แท้ที่จริงแล้วสาเหตุที่ทำให้คนปัจจุบันเป็นโรคไตกันมากขึ้น ครึ่งหนึ่งมาจากโรคเบาหวานเรื้อรัง
อีก 25% มาจากความดันโลหิตสูง
ที่เหลือเกิดจากปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม เช่น เนื้อเยื่อในไตอักเสบ กรรมพันธุ์บางอย่าง เป็นซีสต์ที่ไตแล้วทำให้ไตไม่ดี หรือเป็นนิ่วในไตแล้วอุดตันไตทำให้ไตเสีย
โรคไตปัจจุบันขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในโรคฮิตของคนเมือง ซึ่งนับวันจะยิ่งมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ยั้งไม่หยุด ฉุดไม่อยู่
เป็นที่น่าสังเกตว่าทุกวันนี้มีโรงพยาบาลโรคไตโดยเฉพาะ มีศูนย์ไต สถานให้บริการฟอกไตมากขึ้น ในแง่หนึ่งนับเป็นข่าวดีที่มีการบริการด้านการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึงแม้กับโรคเฉพาะทางอย่างโรคไต
ทว่า ในทางตรงกันข้าม นี่คือสัญญาณบ่งบอกถึงจำนวนผู้ป่วยโรคไตที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ในวาระวันไตโลก (World Kidney Day) ปีนี้ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2559 หลายๆ หน่วยงานจึงพร้อมใจกันจัดงานรณรงค์เพื่อสร้าความเข้าใจ สร้างความตระหนักในปัญหาของโรคไต ซึ่งเราสามารถหยุดยั้งสถิติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกินการอยู่การนอนอย่างเหมาะสม
นพ.วิรุฬห์ มาวิจักขณ์ ผู้อำนวยการสถานโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคไตมากขึ้นเรื่อยๆ
จากสถิติปีหนึ่งๆ คนเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น 15,000-25,000 คน และเป็นสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีคนเป็นโรคไตวายที่ต้องฟอกไตประมาณ 70,000 คน นั่นหมายความว่าต้องได้รับการฟอกเลือดไปตลอดชีวิต ไม่เช่นนั้นก็ต้องเปลี่ยนไต ซึ่งปีหนึ่งเราเปลี่ยนไตได้เพียง 600 คนเท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ป่วยโรคไตที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ไม่ได้เกิดกับคนไทยเท่านั้น แต่คนทั่วโลกก็เช่นกัน
สาเหตุสำคัญมาจากวิถีการกินการอยู่ของคนยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ไม่เพียงกินอาหารรสจัดมากขึ้น หนักคาร์โบไฮเดรต ไขมัน แต่เรายังกินอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น อาทิ บะหมี่สำเร็จรูป (บางคนกินเป็นขนมขบเคี้ยว) ขนมกรุบกรอบ ฯลฯ ซึ่งโดยมากมีปริมาณโซเดียมสูง
ยกตัวอย่างเช่น แฮมเบอร์เกอร์ดับเบิลชีส เฟรนช์ฟรายส์ แคทฉัพ โค้กอีก 1 แก้ว จะได้รับเกลือโซเดียมในประมาณเท่ากับที่ควรจะได้รับทั้งวัน
“วันหนึ่งเราไม่ควรกินเกลือโซเดียมเกินกว่า 10 กรัม เท่ากับ 1 ช้อนโต๊ะ ซึ่งโดยปกติเราจะได้รับจากอาหารปกติที่รับประทานเข้าไปอยู่แล้ว”
หวาน-มัน-เค็ม+ความดัน
ไตพังไม่รู้ตัว
โดยมากจะเข้าใจกันว่า สาเหตุของ “โรคไต” มาจากการ “กินเค็ม” เพียงอย่างเดียว แต่…”กินหวาน”ก็ใช่ กิน ของมัน รวมทั้งพฤติกรรมของคนเมืองที่ ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เครียด ทั้งยัง ไม่ออกกำลังกาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความดันโลหิตสูง อันเป็นจุดตั้งต้นของโรคไต
“ความเค็มไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่เป็นปัจจัยเกื้อหนุน ปัจจุบันคนเป็นโรคไตมากขึ้นเพราะพฤติกรรมการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต หวานจัด เค็มจัด มันจัด ไม่ได้ออกกำลังกาย และการทำงานที่ยาวนานขึ้น ตื่นตี 4-5 กลับถึงบ้านสองทุ่ม ความเครียดด้วย ทำให้ความดันขึ้น เบาหวานขึ้น
อีกประการคือ คนมีความตระหนัก มีการตรวจร่างกายมากขึ้น จึงรู้ว่าเป็นโรคไตกันมากขึ้น”
สำหรับโรคเบาหวานนั้น ผอ.วิรุฬห์บอกว่า มักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน โดยพบบ่อยมากขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของการพบโรคไตมากขึ้น
กล่าวคือ เบาหวาน เป็นโรคที่ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ 10-20 ปีขึ้นไป ถ้าเราควบคุมเบาหวานไม่ดีจะทำให้เกิดอาการเส้นเลือดตีบ ซึ่งถ้าเส้นเลือดตีบในไตก็จะเป็นไตวาย
อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่โรคไต ที่เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากเบาหวาน กับอีกหลายๆ โรคก็เช่นกัน อาทิ ถ้าอาการเส้นเลือดตีบจากเบาหวานเกิดกับตาจะทำให้ตาบอด ถ้าเกิดกับสมองจะเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ถ้าเกิดที่หัวใจจะเป็นโรคหัวใจ เป็นต้น
กรณีของ “ความดันโลหิตสูง” ก็เช่นกัน ถ้าเราปล่อยนานๆ ไปเป็นสิบปี ความดันจะสูงไปเรื่อยๆ และทำลายเส้นเลือดที่ไตทำให้ไตเสีย
ซึ่งในกรณีนี้ต่างจาก “ไตวายเฉียบพลัน” ที่โดยมากเกิดจากการเสียเลือดมากจนช็อก เมื่อไม่มีเลือดไปเลี้ยงไต ทำให้ไตหยุดทำงาน ภาวะนี้เรียกว่า “ไตวายชั่วคราว” แต่ถ้าได้รับการแก้ปัญหาภายใน 1-2 สัปดาห์ ไตยังสามารถฟื้นตัวกลับมาทำงานได้ตามปกติ
ไตวายเรื้อรัง
ภัยเงียบที่มองไม่เห็น
ดังที่กล่าวมาข้างต้น อุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคไตเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งโลก
ที่น่าสนใจ คือ ไต เป็นอวัยวะที่ไม่เหมือนอวัยวะอื่น ตรงที่ผู้ป่วยแม้จะไตเสียไปแล้ว 60-70% ยังสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป โดยที่ไม่มีสัญญาณแจ้งเตือนแต่ประการใด บางคนเป็นนักกีฬาด้วยซ้ำ ต่อเมื่อถึง 80-90% เมื่อนั้นอาการจึงจะปรากฏชัด เช่น…
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ซีด คันตามตัว มีจ้ำตามตัว ฯลฯ เนื่องจากไตทำหน้าที่ขับของเสียในเลือด เมื่อไตไม่ทำงาน ของเสียจึงคั่งค้างอยู่ในเลือดและในร่างกาย ทำให้เลือดและร่างกายสกปรก ซึ่งในที่สุดอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็จะเป็นพิษ หยุดทำงานและเสียชีวิต
จึงจำเป็นต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต หรือทำการผ่าตัดเปลี่ยนไต ซึ่งหลังจากเปลี่ยนไตแล้วผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรได้
สำหรับโรคไตในเด็ก ซึ่งปีนี้ทางสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดงานสัปดาห์วันไตโลก เร่งสร้างความตระหนักไม่บริโภคเค็ม เนื่องจากมีการรับประทานเค็มในเด็กเกินความพอดีอยู่ทั่วประเทศ ทำให้เป็นโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาและเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและเสียชีวิตในที่สุด
ผอ.วิรุฬห์อธิบายเพิ่มเติมว่า โรคไตในเด็กแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.เกิดจากพันธุกรรม เช่น เกิดมาแล้วไตเล็กผิดปกติ ท่อปัสสาวะในไตผิดปกติ มีซีสต์หรือถุงน้ำที่ไต ซึ่งเมื่อมีถุงน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เป็นโรคไต 2.เกิดความโรคอ้วน เพราะกินแป้ง กินหวาน กินเค็ม และทำกิจกรรมน้อยลง และไม่ออกกำลังกาย
“เด็กเหล่านี้เมื่ออ้วนตอนอายุ 10 กว่าขวบ ถ้าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมจนเป็นวัยรุ่นจะอ้วนขึ้น พออายุ 30 กว่าๆ เบาหวานก็มาเยือนแล้ว ทำให้เป็นโรคไตในเวลาต่อมา เราจึงพบว่าคนวัยทำงาน บางคนอายุ 30-40 ปี จะเริ่มมีเบาหวาน ความดัน และไขมันสูง” ผอ.วิรุฬห์บอก และว่า
ความเค็มนั้นเหมือนรสนิยม ความเค็มทำให้อาหารอร่อยขึ้น ทำให้คนจำนวนไม่น้อย “ติดรสเค็ม” แม้จะเปลี่ยนยาก แต่ก็เปลี่ยนได้ ทางที่ดี ควรได้รับการตรวจไต (ตรวจสุขภาพ) เป็นประจำทุกปี เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์
เพราะ “เค็ม” ไม่จำเป็นต้องเป็นเกลือเสมอไป อย่างโค้ก หรือโซดา เป็นโซเดียมไบคาร์บอเนต ก็มีโซเดียม หรือในผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิล มะเฟือง ส้มก็มีโปรแตสเซียม ซึ่งคนเป็นโรคไตบางอย่างก็กินผลไม้ไม่ได้ หมอเท่านั้นจะรู้ว่าจะกินได้หรือไม่ได้
ขอบคุณเนื้อหาบทความดีดีจาก @ http://www.matichon.co.th/news/64613
แท้ที่จริงแล้วสาเหตุที่ทำให้คนปัจจุบันเป็นโรคไตกันมากขึ้น ครึ่งหนึ่งมาจากโรคเบาหวานเรื้อรัง
อีก 25% มาจากความดันโลหิตสูง
ที่เหลือเกิดจากปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม เช่น เนื้อเยื่อในไตอักเสบ กรรมพันธุ์บางอย่าง เป็นซีสต์ที่ไตแล้วทำให้ไตไม่ดี หรือเป็นนิ่วในไตแล้วอุดตันไตทำให้ไตเสีย
โรคไตปัจจุบันขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในโรคฮิตของคนเมือง ซึ่งนับวันจะยิ่งมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ยั้งไม่หยุด ฉุดไม่อยู่
ป่วยเพิ่มปีละ 15,000-25,000 คน
เป็นที่น่าสังเกตว่าทุกวันนี้มีโรงพยาบาลโรคไตโดยเฉพาะ มีศูนย์ไต สถานให้บริการฟอกไตมากขึ้น ในแง่หนึ่งนับเป็นข่าวดีที่มีการบริการด้านการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึงแม้กับโรคเฉพาะทางอย่างโรคไต
ทว่า ในทางตรงกันข้าม นี่คือสัญญาณบ่งบอกถึงจำนวนผู้ป่วยโรคไตที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ในวาระวันไตโลก (World Kidney Day) ปีนี้ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2559 หลายๆ หน่วยงานจึงพร้อมใจกันจัดงานรณรงค์เพื่อสร้าความเข้าใจ สร้างความตระหนักในปัญหาของโรคไต ซึ่งเราสามารถหยุดยั้งสถิติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกินการอยู่การนอนอย่างเหมาะสม
นพ.วิรุฬห์ มาวิจักขณ์ ผู้อำนวยการสถานโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคไตมากขึ้นเรื่อยๆ
จากสถิติปีหนึ่งๆ คนเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น 15,000-25,000 คน และเป็นสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีคนเป็นโรคไตวายที่ต้องฟอกไตประมาณ 70,000 คน นั่นหมายความว่าต้องได้รับการฟอกเลือดไปตลอดชีวิต ไม่เช่นนั้นก็ต้องเปลี่ยนไต ซึ่งปีหนึ่งเราเปลี่ยนไตได้เพียง 600 คนเท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ป่วยโรคไตที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ไม่ได้เกิดกับคนไทยเท่านั้น แต่คนทั่วโลกก็เช่นกัน
สาเหตุสำคัญมาจากวิถีการกินการอยู่ของคนยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ไม่เพียงกินอาหารรสจัดมากขึ้น หนักคาร์โบไฮเดรต ไขมัน แต่เรายังกินอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น อาทิ บะหมี่สำเร็จรูป (บางคนกินเป็นขนมขบเคี้ยว) ขนมกรุบกรอบ ฯลฯ ซึ่งโดยมากมีปริมาณโซเดียมสูง
ยกตัวอย่างเช่น แฮมเบอร์เกอร์ดับเบิลชีส เฟรนช์ฟรายส์ แคทฉัพ โค้กอีก 1 แก้ว จะได้รับเกลือโซเดียมในประมาณเท่ากับที่ควรจะได้รับทั้งวัน
“วันหนึ่งเราไม่ควรกินเกลือโซเดียมเกินกว่า 10 กรัม เท่ากับ 1 ช้อนโต๊ะ ซึ่งโดยปกติเราจะได้รับจากอาหารปกติที่รับประทานเข้าไปอยู่แล้ว”
หวาน-มัน-เค็ม+ความดัน
ไตพังไม่รู้ตัว
โดยมากจะเข้าใจกันว่า สาเหตุของ “โรคไต” มาจากการ “กินเค็ม” เพียงอย่างเดียว แต่…”กินหวาน”ก็ใช่ กิน ของมัน รวมทั้งพฤติกรรมของคนเมืองที่ ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เครียด ทั้งยัง ไม่ออกกำลังกาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความดันโลหิตสูง อันเป็นจุดตั้งต้นของโรคไต
“ความเค็มไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่เป็นปัจจัยเกื้อหนุน ปัจจุบันคนเป็นโรคไตมากขึ้นเพราะพฤติกรรมการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต หวานจัด เค็มจัด มันจัด ไม่ได้ออกกำลังกาย และการทำงานที่ยาวนานขึ้น ตื่นตี 4-5 กลับถึงบ้านสองทุ่ม ความเครียดด้วย ทำให้ความดันขึ้น เบาหวานขึ้น
อีกประการคือ คนมีความตระหนัก มีการตรวจร่างกายมากขึ้น จึงรู้ว่าเป็นโรคไตกันมากขึ้น”
สำหรับโรคเบาหวานนั้น ผอ.วิรุฬห์บอกว่า มักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน โดยพบบ่อยมากขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของการพบโรคไตมากขึ้น
กล่าวคือ เบาหวาน เป็นโรคที่ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ 10-20 ปีขึ้นไป ถ้าเราควบคุมเบาหวานไม่ดีจะทำให้เกิดอาการเส้นเลือดตีบ ซึ่งถ้าเส้นเลือดตีบในไตก็จะเป็นไตวาย
อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่โรคไต ที่เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากเบาหวาน กับอีกหลายๆ โรคก็เช่นกัน อาทิ ถ้าอาการเส้นเลือดตีบจากเบาหวานเกิดกับตาจะทำให้ตาบอด ถ้าเกิดกับสมองจะเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ถ้าเกิดที่หัวใจจะเป็นโรคหัวใจ เป็นต้น
กรณีของ “ความดันโลหิตสูง” ก็เช่นกัน ถ้าเราปล่อยนานๆ ไปเป็นสิบปี ความดันจะสูงไปเรื่อยๆ และทำลายเส้นเลือดที่ไตทำให้ไตเสีย
ซึ่งในกรณีนี้ต่างจาก “ไตวายเฉียบพลัน” ที่โดยมากเกิดจากการเสียเลือดมากจนช็อก เมื่อไม่มีเลือดไปเลี้ยงไต ทำให้ไตหยุดทำงาน ภาวะนี้เรียกว่า “ไตวายชั่วคราว” แต่ถ้าได้รับการแก้ปัญหาภายใน 1-2 สัปดาห์ ไตยังสามารถฟื้นตัวกลับมาทำงานได้ตามปกติ
ไตวายเรื้อรัง
ภัยเงียบที่มองไม่เห็น
ดังที่กล่าวมาข้างต้น อุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคไตเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งโลก
ที่น่าสนใจ คือ ไต เป็นอวัยวะที่ไม่เหมือนอวัยวะอื่น ตรงที่ผู้ป่วยแม้จะไตเสียไปแล้ว 60-70% ยังสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป โดยที่ไม่มีสัญญาณแจ้งเตือนแต่ประการใด บางคนเป็นนักกีฬาด้วยซ้ำ ต่อเมื่อถึง 80-90% เมื่อนั้นอาการจึงจะปรากฏชัด เช่น…
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ซีด คันตามตัว มีจ้ำตามตัว ฯลฯ เนื่องจากไตทำหน้าที่ขับของเสียในเลือด เมื่อไตไม่ทำงาน ของเสียจึงคั่งค้างอยู่ในเลือดและในร่างกาย ทำให้เลือดและร่างกายสกปรก ซึ่งในที่สุดอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็จะเป็นพิษ หยุดทำงานและเสียชีวิต
จึงจำเป็นต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต หรือทำการผ่าตัดเปลี่ยนไต ซึ่งหลังจากเปลี่ยนไตแล้วผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรได้
สำหรับโรคไตในเด็ก ซึ่งปีนี้ทางสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดงานสัปดาห์วันไตโลก เร่งสร้างความตระหนักไม่บริโภคเค็ม เนื่องจากมีการรับประทานเค็มในเด็กเกินความพอดีอยู่ทั่วประเทศ ทำให้เป็นโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาและเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและเสียชีวิตในที่สุด
ผอ.วิรุฬห์อธิบายเพิ่มเติมว่า โรคไตในเด็กแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.เกิดจากพันธุกรรม เช่น เกิดมาแล้วไตเล็กผิดปกติ ท่อปัสสาวะในไตผิดปกติ มีซีสต์หรือถุงน้ำที่ไต ซึ่งเมื่อมีถุงน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เป็นโรคไต 2.เกิดความโรคอ้วน เพราะกินแป้ง กินหวาน กินเค็ม และทำกิจกรรมน้อยลง และไม่ออกกำลังกาย
“เด็กเหล่านี้เมื่ออ้วนตอนอายุ 10 กว่าขวบ ถ้าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมจนเป็นวัยรุ่นจะอ้วนขึ้น พออายุ 30 กว่าๆ เบาหวานก็มาเยือนแล้ว ทำให้เป็นโรคไตในเวลาต่อมา เราจึงพบว่าคนวัยทำงาน บางคนอายุ 30-40 ปี จะเริ่มมีเบาหวาน ความดัน และไขมันสูง” ผอ.วิรุฬห์บอก และว่า
ความเค็มนั้นเหมือนรสนิยม ความเค็มทำให้อาหารอร่อยขึ้น ทำให้คนจำนวนไม่น้อย “ติดรสเค็ม” แม้จะเปลี่ยนยาก แต่ก็เปลี่ยนได้ ทางที่ดี ควรได้รับการตรวจไต (ตรวจสุขภาพ) เป็นประจำทุกปี เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์
เพราะ “เค็ม” ไม่จำเป็นต้องเป็นเกลือเสมอไป อย่างโค้ก หรือโซดา เป็นโซเดียมไบคาร์บอเนต ก็มีโซเดียม หรือในผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิล มะเฟือง ส้มก็มีโปรแตสเซียม ซึ่งคนเป็นโรคไตบางอย่างก็กินผลไม้ไม่ได้ หมอเท่านั้นจะรู้ว่าจะกินได้หรือไม่ได้
ขอบคุณเนื้อหาบทความดีดีจาก @ http://www.matichon.co.th/news/64613
- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
แสดงความคิดเห็น :
- กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพและไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครสอบบุคคลเข้ารับราชการ 94 อัตรา
ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก (Paper & Pencil) ประจำปี 2567
กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครสอบบุคคลเข้ารับราชการ 94 อัตรา
ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก (Paper & Pencil) ประจำปี 2567
กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!