งานราชการล่าสุด

7 หลักการขอโทษของคนเป็นหัวหน้าที่ควรรู้ (และทำให้ได้)

22 มี.ค. 2559 เวลา 23:29 น. 5,358 ครั้ง

7 หลักการขอโทษของคนเป็นหัวหน้าที่ควรรู้ (และทำให้ได้)



นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
หนึ่งในสิ่งที่หลายๆ คนมักบ่นๆ กันเรื่องคือการขอโทษไม่เป็นของบรรดาหัวหน้างานหรือผู้บริหารต่างๆ ซึ่งมักนำไปสู่การทำลายความรู้สึกของพนักงานและจะค่อยๆ ก่อตัวกลายเป็นการต่อต้านและไม่นับถือคนที่ต้องอยู่ในบทบาทของผู้นำไปเสีย

พอเป็นเช่นนี้ มันเลยเป็นเรื่องค่อนข้างจำเป็นของบรรดาผู้บริหารอยู่เหมือนกันที่จะต้องรู้จักขอโทษในเวลาที่จำเป็นอยู่เหมือนกัน ซึ่งเทคนิคในการขอโทษสำหรับผู้บริหารนั้น หนังสือ The Worst Case Scenario Business Survial Guide ก็มีการอธิบายหลัก 7 ข้อที่พึงกระทำ ซึ่งแม้ว่ามันอาจจะออกแบบมาสำหรับผู้บริหารแต่ผมว่าคนทำงานทุกๆ คนก็สามารถเอาไปใช้ได้เหมือนกันนะครับ

1. นึกถึงสิ่งที่ผู้ฟังอยากฟัง

แน่นอนว่าการขอโทษนั้น แสดงว่าอีกฝ่ายเองก็ต้องได้รับผลกระทบอะไรบางอย่างมาไม่มากก็น้อย ฉะนั้นคนที่จะขอโทษก็ควรคิดในมุมของอีกฝั่งรวมทั้งมองทะลุให้เห็นว่าอะไรจะเป็นคำถามที่อาจจะเกิดขึ้น (รวมทั้งคำตอบที่จะต้องเตรียมไว้ด้วยนั่นแหละ)

2. ทบทวนว่าเขารู้สึกแบบนี้มาเท่าไรแล้ว

หลายๆ เหตุการณ์เป็นการขอโทษกับสิ่งที่ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น ฉะนั้นผู้ขอโทษก็ต้องดูด้วยว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคาราคาซังกันมานานแค่ไหน หรือเกิดมานานเท่าไร เพราะนั่นจะส่งผลต่อความรู้สึกกับคนที่จะไปขอโทษ อย่าลืมว่ายิ่งเรื่องมันเกิดขึ้นมานาน อีกฝั่งก็คงจะรู้สึก “เจ็บ” มาไม่น้อยเช่นกัน

3. ดูว่ามีทางแก้ไขอื่นนอกจากขอโทษหรือไม่

จริงอยู่ว่าการขอโทษคือการกระทำที่จำเป็น แต่ก็ใช่ที่ว่ามันจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นไปเสียทุกอย่าง หลายๆ อย่างนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการมากกว่าแค่การขอโทษด้วย และนั่นคือตัวเลือกที่ควรจะพึงมีเอาไว้เช่นกัน

4. กล่าวขอโทษด้วยตัวเอง

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะการขอโทษตรงนั้นแสดงความจริงใจและสามารถทำให้อีกฝั่งยอมรับได้ง่ายกว่าการขอโทษผ่านช่องทางอื่นๆ

5. ขอโทษอย่างเรียบง่ายและจริงใจ

สิ่งสำคัญที่ทำให้การขอโทษหลายๆ ครั้งไม่ได้ผลเพราะคนฟังรู้สึกว่าอีกฝ่ายไม่ได้ขอโทษจริง บ้างก็ทำเป็นพิธีโดยปราศจากความจริงใจ และนั่นเป็นสิ่งที่ต้องระวังไว้มากๆ ต้องคิดเสมอว่าทำอย่างไรให้การขอโทษนั้นไม่ใช่เป็นการแก้ตัว หรือทำให้อีกฝ่ายเข้าใจไปอีกทาง เช่นเดียวกับที่ตัวคนขอโทษเองก็ต้องรู้สึกจริงๆ กับสิ่งที่จะพูดด้วย

6. รับฟัง

การขอโทษเป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาในหลายๆ ครั้ง และสิ่งที่จำเป็นต้องทำต่อคือการฟังอีกฝ่าย รับรู้ความรู้สึกของพวกเขาโดยอย่าเพิ่งรีบแก้ตัวหรือพยายามอธิบายเหตุผลโดยไม่จำเป็น

7. ขอโทษอีกครั้ง

หลังจากที่ได้ขอโทษครั้งแรกและเกิดการสนทนากันไปแล้วนั้น จะเป็นการดีถ้าเราแสดงเจตนาและความจริงใจอีกครั้งเพื่อย้ำให้อีกฝ่ายเห็นความตั้งใจในการขอโทษนั่นเอง

ขอบคุณบทความจาก @ nuttaputch.com

แชร์ข่าวนี้ ให้เพื่อนคุณ และติดตามเราได้ที่ Fanpage.


แสดงความคิดเห็น :

- กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพและไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย
- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้ กรมทรัพยากรน้ำ เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 68 อัตรา


กรมสรรพสามิต เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 123 อัตรา


กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครสอบเป็นพนักงานราชการ 129 อัตรา


บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) รับสมัครบุคคลเข้าทำงานเพื่อปฏิบัติงาน 164 อัตรา


กรมเจ้าท่า เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 43 อัตรา


หนังสือติวสอบ ก.พ. พร้อมติวและเฉลยข้อสอบจริง ก.พ. (ภาค ก) 67


สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก (Paper & Pencil) ประจำปี 2567


หนังสือ สรุปครบตรงประเด็น เตรียมสอบ ก.พ.


กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!



ผู้สนับสนุน เว็บไซต์พันธมิตร

งานล่าสุด >>

^