คุณรู้หรือไม่ "ผู้ป่วย"โรคไต ห้ามกิน"มะเฟือง"เด็ดขาด หมอเตือน

นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
แพทย์เผยรายชื่อพืชพิษ 10 ชนิดพบมากในไทย แนะก่อนกินสมุนไพรต้องปรึกษาแพทย์ อันตรายถึงชีวิต เตือน "ผู้ป่วยไต"ห้ามกินมะเฟืองแม้เพียงชิ้นเดียว
เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการรวบรวมรายชื่อพืชพิษในประเทศไทย พบว่ามีพืชที่คนไทยได้รับอันตรายบ่อยที่สุด 10 อันดับ ได้แก่ สบู่ดำ/สบู่ขาว ร้อยละ 54.1 กลอย ร้อยละ 8.7 มันสำปะหลัง ร้อยละ 5.9 ลำโพง หรือมะเขือบ้า ร้อยละ 4.2 โพธิ์ศรี/โพธิ์ทะเล/โพธิ์ฝรั่ง ร้อยละ4.1 ฝิ่นต้น ร้อยละ 2.8 มะกล่ำตาหนู ร้อยละ2.5 บอน ร้อยละ 2.1 ละหุ่ง ร้อยละ1.4 และสาวน้อยประแป้ง ร้อยละ1.2 นอกจากนี้ยังมีพืชอื่น ๆ ที่ประชาชนปรึกษาเข้ามาที่ศูนย์อีก 89 ชนิด ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับพิษจากพืชจะแสดงออก 5 กลุ่มอาการ คือการระคายเคือง เซลล์ไม่สามารถเอาออกซิเจนไปใช้ได้ ระบบประสาท ระบบหัวใจ และระบบไต
ศ.นพ.วินัย กล่าวอีกว่า สำหรับอาการระคายเคืองจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือการระคายเคืองผิวหนัง และภาวะกระเพาะและลำไส้อักเสบ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนโดยที่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง คือ พืชที่มีน้ำยางใส ประกอบด้วย บอนสาวน้อยประแป้ง ว่านหมื่นปี และเผือก เพราะมีสารแคลเซียมออกซาเลต พืชที่ทำให้เกิดผื่นนูนแดงจากการสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เพราะปล่อยสารฮีสเทมีน ได้แก่ ขนของหมามุ่ย และตำแย ส่วนพืชที่รับประทานแล้วทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แยกเป็นส่วนที่เป็นพิษจากเมล็ด คือ สบู่ดำ ฝิ่นต้น สบู่แดง และโพธิ์ฝรั่ง และเป็นพิษทุกส่วนคือ บอน สาวน้อยประแป้ง ว่านหมื่นปี นอกจากนี้ยังมีพืชที่มีน้ำยางขาวซึ่งมีสารฟอบอล ไดเตอพีนอยด์ เมื่อรับประทานเข้าไปบางรายอาจถึงแก่ชีวิตคือพญาไร้ใบ สลัดได โป๊ยเซียน และคริสต์มาส รวมถึงพืชกลุ่มที่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วทำให้แบ่งเซลล์ไม่ได้ เสียชีวิตเช่นกัน ได้แก่ มะกล่ำตาหนู ละหุ่ง ดองดึง

หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาฯ กล่าวด้วยว่า ส่วนพืชที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถเอาออกซิเจนไปใช้ได้คือ รากมันสำปะหลัง โล่ติ้น,หางไหล หน่อไม้ และผักเสี้ยน ขณะที่เมล็ดมันแกวหากรับประทานจะคลื่นไส้อาเจียน สับสน วุ่นวาย มีอาการทางหัวใจ และเสียชีวิต สำหรับพืชที่ทำให้เกิดพิษต่อสมอง ทั้งฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนหลัง อาทิ ฝิ่น กัญชา เห็ดขี้ควาย กระท่อม ต้นแสลงใจ ลำโพง เป็นต้น และพืชที่มีผลต่อระบบหัวใจทำให้ชีพจรเต้นช้าเมื่อรับประทานเข้าไปคือ ยี่โถ รำเพย ชวนชม พันซาด และสุดท้ายพืชที่ทำให้เกิดพิษต่อไต ทำให้ไตวายเฉียบพลัน ได้แก่ ลูกเนียง เกิดอาการหลังได้รับ 2-14 ชั่วโมง ทั้งนี้ผู้ที่มีปัญหาโรคไตห้ามรับประทานมะเฟือง เพราะมีอันตรายมาก ซึ่งมีรายงานว่าผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตแม้กินมะเฟือง 1 ชิ้น ทำให้เกิดอันตรายใน 2.5-14 ชั่วโมง ส่วนคนปกติสามารถดื่มน้ำมะเฟืองได้ 1.5-3 ลิตรต่อวัน
“นอกจากนี้อยากให้ประชาชนระวังพิษจากสมุนไพรด้วย โดยเฉพาะสสารเสริมอาหารที่สกัดจากสมุนไพร 4 ชนิด คือเซนต์จอห์นเวิร์ต กระเทียม แปะก๊วย และโสม เนื่องจากหากรับประทานตามธรรมชาติอาจออกฤทธิ์ประมาณร้อยละ 1-2 แต่เมื่อนำมาสกัดเป็นแบบแคปซูลจะทำให้ความเข้มข้นของสารในสมุนไพรดังกล่าวสูงขึ้น และมีโอกาสที่จะทำปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นที่รับประทานอยู่ด้วยได้ ทำให้ฤทธิ์แรงเกินเกิดภาวะเป็นพิษ อันตรายกับคนไข้ ดังนั้นการกินสารเสริมอาหารจากสมุนไพร แม้จะเป็นสารธรรมชาติก็ไม่ได้ปลอดภัย 100 % ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ”ศ.นพ.วินัย กล่าว.
ขอบคุณเนื้อหาจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559
เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการรวบรวมรายชื่อพืชพิษในประเทศไทย พบว่ามีพืชที่คนไทยได้รับอันตรายบ่อยที่สุด 10 อันดับ ได้แก่ สบู่ดำ/สบู่ขาว ร้อยละ 54.1 กลอย ร้อยละ 8.7 มันสำปะหลัง ร้อยละ 5.9 ลำโพง หรือมะเขือบ้า ร้อยละ 4.2 โพธิ์ศรี/โพธิ์ทะเล/โพธิ์ฝรั่ง ร้อยละ4.1 ฝิ่นต้น ร้อยละ 2.8 มะกล่ำตาหนู ร้อยละ2.5 บอน ร้อยละ 2.1 ละหุ่ง ร้อยละ1.4 และสาวน้อยประแป้ง ร้อยละ1.2 นอกจากนี้ยังมีพืชอื่น ๆ ที่ประชาชนปรึกษาเข้ามาที่ศูนย์อีก 89 ชนิด ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับพิษจากพืชจะแสดงออก 5 กลุ่มอาการ คือการระคายเคือง เซลล์ไม่สามารถเอาออกซิเจนไปใช้ได้ ระบบประสาท ระบบหัวใจ และระบบไต
ศ.นพ.วินัย กล่าวอีกว่า สำหรับอาการระคายเคืองจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือการระคายเคืองผิวหนัง และภาวะกระเพาะและลำไส้อักเสบ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนโดยที่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง คือ พืชที่มีน้ำยางใส ประกอบด้วย บอนสาวน้อยประแป้ง ว่านหมื่นปี และเผือก เพราะมีสารแคลเซียมออกซาเลต พืชที่ทำให้เกิดผื่นนูนแดงจากการสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เพราะปล่อยสารฮีสเทมีน ได้แก่ ขนของหมามุ่ย และตำแย ส่วนพืชที่รับประทานแล้วทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แยกเป็นส่วนที่เป็นพิษจากเมล็ด คือ สบู่ดำ ฝิ่นต้น สบู่แดง และโพธิ์ฝรั่ง และเป็นพิษทุกส่วนคือ บอน สาวน้อยประแป้ง ว่านหมื่นปี นอกจากนี้ยังมีพืชที่มีน้ำยางขาวซึ่งมีสารฟอบอล ไดเตอพีนอยด์ เมื่อรับประทานเข้าไปบางรายอาจถึงแก่ชีวิตคือพญาไร้ใบ สลัดได โป๊ยเซียน และคริสต์มาส รวมถึงพืชกลุ่มที่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วทำให้แบ่งเซลล์ไม่ได้ เสียชีวิตเช่นกัน ได้แก่ มะกล่ำตาหนู ละหุ่ง ดองดึง

หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาฯ กล่าวด้วยว่า ส่วนพืชที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถเอาออกซิเจนไปใช้ได้คือ รากมันสำปะหลัง โล่ติ้น,หางไหล หน่อไม้ และผักเสี้ยน ขณะที่เมล็ดมันแกวหากรับประทานจะคลื่นไส้อาเจียน สับสน วุ่นวาย มีอาการทางหัวใจ และเสียชีวิต สำหรับพืชที่ทำให้เกิดพิษต่อสมอง ทั้งฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนหลัง อาทิ ฝิ่น กัญชา เห็ดขี้ควาย กระท่อม ต้นแสลงใจ ลำโพง เป็นต้น และพืชที่มีผลต่อระบบหัวใจทำให้ชีพจรเต้นช้าเมื่อรับประทานเข้าไปคือ ยี่โถ รำเพย ชวนชม พันซาด และสุดท้ายพืชที่ทำให้เกิดพิษต่อไต ทำให้ไตวายเฉียบพลัน ได้แก่ ลูกเนียง เกิดอาการหลังได้รับ 2-14 ชั่วโมง ทั้งนี้ผู้ที่มีปัญหาโรคไตห้ามรับประทานมะเฟือง เพราะมีอันตรายมาก ซึ่งมีรายงานว่าผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตแม้กินมะเฟือง 1 ชิ้น ทำให้เกิดอันตรายใน 2.5-14 ชั่วโมง ส่วนคนปกติสามารถดื่มน้ำมะเฟืองได้ 1.5-3 ลิตรต่อวัน
“นอกจากนี้อยากให้ประชาชนระวังพิษจากสมุนไพรด้วย โดยเฉพาะสสารเสริมอาหารที่สกัดจากสมุนไพร 4 ชนิด คือเซนต์จอห์นเวิร์ต กระเทียม แปะก๊วย และโสม เนื่องจากหากรับประทานตามธรรมชาติอาจออกฤทธิ์ประมาณร้อยละ 1-2 แต่เมื่อนำมาสกัดเป็นแบบแคปซูลจะทำให้ความเข้มข้นของสารในสมุนไพรดังกล่าวสูงขึ้น และมีโอกาสที่จะทำปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นที่รับประทานอยู่ด้วยได้ ทำให้ฤทธิ์แรงเกินเกิดภาวะเป็นพิษ อันตรายกับคนไข้ ดังนั้นการกินสารเสริมอาหารจากสมุนไพร แม้จะเป็นสารธรรมชาติก็ไม่ได้ปลอดภัย 100 % ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ”ศ.นพ.วินัย กล่าว.
ขอบคุณเนื้อหาจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559
- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
แสดงความคิดเห็น :
- กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพและไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้
กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ 42 อัตรา

กทม. เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ 373 อัตรา

กรมที่ดิน รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ 29 อัตรา

ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ 9,980 อัตรา ประจำเดือน มีนาคม 2568 เช็กตำแหน่งว่างได้ที่นี่

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ 60 อัตรา

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดรับสมัครสอบแข่งขันบุคคลภายนอกเพื่อบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการ 155 อัตรา

วิธีตรวจสอบคุณวุฒิตามที่ ก.พ. รับรอง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดรับสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2568

((เว็บไซต์สมัครสอบท้องถิ่น68))

ตำแหน่งว่างว่าง เปิดรับสมัครสอบราชการ วุฒิ ปวช./ปวส./ปริญญาตรี ทุกสาขา

สํานักงาน ก.พ. รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจําปี 2568 จำนวน 450,000 ที่นั่ง

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ 42 อัตรา

กทม. เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ 373 อัตรา

กรมที่ดิน รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ 29 อัตรา

ด่วน!! เปิดรับสมัครสอบราชการ 9,980 อัตรา ประจำเดือน มีนาคม 2568 เช็กตำแหน่งว่างได้ที่นี่

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ 60 อัตรา

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดรับสมัครสอบแข่งขันบุคคลภายนอกเพื่อบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการ 155 อัตรา

วิธีตรวจสอบคุณวุฒิตามที่ ก.พ. รับรอง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดรับสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2568

((เว็บไซต์สมัครสอบท้องถิ่น68))

ตำแหน่งว่างว่าง เปิดรับสมัครสอบราชการ วุฒิ ปวช./ปวส./ปริญญาตรี ทุกสาขา

สํานักงาน ก.พ. รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจําปี 2568 จำนวน 450,000 ที่นั่ง
