งานราชการล่าสุด

ทำไมต้องสอบ ก.พ. เกี่ยวข้องกับการเข้า "รับราชการ" อย่างไร?

29 พ.ค. 2565 เวลา 08:07 น. 8,222 ครั้ง

ทำไมต้องสอบ ก.พ.  เกี่ยวข้องกับการเข้า "รับราชการ" อย่างไร?



นำเสนอข่าวโดย > ทีมงานจ๊อบไทยดีดี ดอทคอม
ทำไมต้องสอบ ก.พ. เกี่ยวข้องกับการเข้ารับราชการอย่างไร?
คำถามนี้ “ทำไมต้องสอบ ก.พ.” ถูกถามมาเยอะ ซึ่งหลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องสอบ ก.พ. และการสอบนั้นเหมือนจะง่ายแต่ก็สอบไม่ผ่านหลายครั้ง บางคนสอบถึง 3 ครั้ง ถึงจะสามารถผ่าน ภาค ก ได้ วันนี้เรามีคำตอบจาก  คุณรัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม ศูนย์สรรหาและเลือกสรร สำนักงาน ก.พ. จะมาให้คำตอบทุกคน
 
การคัดเลือกภาคราชการพลเรือน: ถ้าเลือกได้ทำไมจึงไม่เลือกให้ดี



 
       เพื่อนข้าราชการที่ทำงานด้านทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการคนหนึ่งกล่าวกับผู้เขียนอย่างมีอารมณ์โกรธว่า "ทำไมต้องสอบภาค ก. ดูซิกว่าจะหาคนมาสมัครสอบได้ก็ยาก พอมาสอบก็ตกภาค ก. อีก สอบไปทำไมไม่รู้ ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย" คนส่วนใหญ่สงสัยว่า ภาค ก. นั้นวัดอะไร ทำไมต้องสอบภาค ก. หรือ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไปด้วย แบบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปนั้นมีรากฐานมาจากทฤษฎีเชาวน์ปัญญาของ Thurstone ผู้ที่อธิบายว่าเชาวน์ปัญญาแสดงออกด้วยความสามารถหลาย ๆ ด้านที่สัมพันธ์กัน ดังนั้นในการวัดเชาวน์ปัญญา/มักเรียกว่า
ความรู้ความสามารถทั่วไปของบุคคลก็มักทดสอบด้วยแบบทดสอบที่วัดความสามารถหลาย ๆ อย่าง
ซึ่งความสามารถหลักที่วัดกันคือ ความสามารถด้านตัวเลข ด้านภาษา และด้านเหตุผล
ถ้าถามต่อไปว่าทำไมต้องนายจ้างส่วนใหญ่ต้องการพนักงานที่มีเชาวน์ปัญญาดีล่ะ คำตอบก็ตรงไปตรงมาคือ คนที่มีเชาวน์ปัญญาดีกว่า มักจะทำงนได้ผลการปฏิบัติงานดีกว่าน่ะสิ  มีข้อมูลเชิงประจักษ์จากงานวิจัยพบว่า โดยทั่วไปผลการทดสอบจากแบบวัดประเภทนี้มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน แม้ว่าโดยลักษณะภายนอกจะมองดูเหมือนว่าไม่สัมพันธ์กันเลยก็ตาม (เรียกว่ามีความคล้ายคลึงกันในเชิงคุณลักษณะ)และด้วยเหตุผลนี้ไม่ว่าระบบการคัดเลือกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การวัดความสามารถทั่วไปยังคงใช้อยู่เสมอดังนั้นการคัดเลือกข้าราชการไม่ว่า ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง และทุกประเทศในอาเซียนมีการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกข้าราชการด้วยกันทั้งสิ้นแต่เพียงแค่ความฉลาดอย่างเดียวยังไม่เพียงพอต่อการแสดงผลการปฏิบัติงานที่ดี ดังนั้นในกระบวนการคัดเลือก จึงยังคงมีการวัดความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข) และการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค)อีกด้วย ก็ไหน ๆ จะเลือกคนเข้ามาทำงานทั้งที่ เราคาดหวังว่าเราจะได้ข้าราชการที่ฉลาด (ทำให้เรียนรู้ได้ดี มีความรู้ที่จะปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้น ๆ และยังเป็นคนที่มีความเหมาะสมกับระบบราชการ ( เช่น เป็นคนดี เป็นต้น) อีกด้วย
 
 
สำหรับคำถามของเพื่อนข้าราชการตอนต้นของบทความ ภายหลังจากอธิบายแล้ว ผู้เขียนก็ถามกลับว่า "ในฐานะของนายจ้าง (หรือผู้ทำหน้าที่แทนนายจ้าง) ถ้าเธอเลือกข้าราชการที่ฉลาดได้ แล้วทำไมเธอถึงจะไม่เลือกให้ดีล่ะ" ในฐานะของประชาชนผู้เสียภาษีถ้าเงินภาษีที่นำมาจ่ายเป็นเงินเดือนข้าราชการ เราก็คงอยากเห็นเงินเดือนเราจ่ายให้กับข้าราชการผู้มีความรู้ความสามารถเช่นกัน

ขอบคุณวารสารจาก สำนักงาน ก.พ.
 

แชร์ข่าวนี้ ให้เพื่อนคุณ และติดตามเราได้ที่ Fanpage.


แสดงความคิดเห็น :

- กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพและไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย
- ห้ามมิให้ผู้ใดโพดขายสินค้าเด็ดขาด
- ข้อความโพสโดยสาธารณชน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ติดตามข่าวบน Facebook กด Like เพื่อไม่พลาดข่าว !!!
ศูนย์ข่าวสารงานราชการ ข่าวเปิดสอบราชการ ตำแหน่งงานว่างอัพเดทให้ทุกวัน ติดตามที่นี่ www.jobthaidd.com
ข่าวที่น่าสนใจตอนนี้ กรมทรัพยากรน้ำ เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 68 อัตรา


กรมสรรพสามิต เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 123 อัตรา


กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครสอบเป็นพนักงานราชการ 129 อัตรา


บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) รับสมัครบุคคลเข้าทำงานเพื่อปฏิบัติงาน 164 อัตรา


กรมเจ้าท่า เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 43 อัตรา


หนังสือติวสอบ ก.พ. พร้อมติวและเฉลยข้อสอบจริง ก.พ. (ภาค ก) 67


สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ ภาค ก (Paper & Pencil) ประจำปี 2567


หนังสือ สรุปครบตรงประเด็น เตรียมสอบ ก.พ.


กสถ.เตรียมเปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น 2567 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา แล้ว!!



ผู้สนับสนุน เว็บไซต์พันธมิตร

งานล่าสุด >>

^